คลังบทความภาษาไทย

วันพฤหัสบดีที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2557

เปรียบเทียบความเชื่อศรัทธาในพระเจ้า ศาสนายิว - ศาสนาคริสต์ -ศาสนาอิสลาม


                ก. ศาสนายิว - ยูดาย (Judaism) มีหลักศรัทธาความเชื่อดังนี้
               1.  พระยะโฮวาทรงเป็นพระเจ้าสูงสุดแต่เพียงองค์เดียว      ไม่มีพระเจ้าอื่นนอกจากพระองค์
ทรงเป็นผู้สร้างโลกมนุษย์และสรรพสิ่งในเอกภพ  เป็นองค์แห่งความดี  ยุติธรรม  ความรักและปัญญา  ทรงบันดาลให้เกิดเหตุการณ์ต่าง ๆ  ในประวัติศาสตร์  ทรงควบคุมเอกภพให้ดำเนินไปตามน้ำพระทัยของพระองค์
               2.      กฎหมายของพระเจ้า  คือ กฎหมายสูงสุดที่แท้จริงแสดงให้ปรากฏในพระคัมภีร์และทัสมุดทุกประการ  ว่าด้วยการปกครอง  เศรษฐกิจ สังคม  และชีวิตประจำวัน  ไม่มีใครจะปฏิเสธกฎหมายสูงสุดนี้ได้
               3.      พระเจ้าทรงเลือกสรรชนชาติอิสราเอลให้เป็นผู้แทนพระองค์    เพื่อจะนำมนุษยชาติไปหาพระองค์  ชาวอิสราเอลทุกคนจึงมีหน้าที่เป็นพระต้องดำรงชีวิตให้อยู่ในความชอบธรรมและบริสุทธิ์ทุกประการ
               4.      เอกภาพทางประวัติศาสตร์แสดงให้เห็นพระประสงค์  และนโยบายของพระเจ้าในการลงโทษและให้รางวัลแก่มนุษย์ว่าแต่ละครั้งพัฒนาไปสู่สภาวะที่ดีขึ้นเพื่อไปสู่อาณาจักรของพระเจ้า
               5.      ศาสดาพยากรณ์   เป็นผู้แทนที่แท้จริงของเทพเจ้าคำทำนายของศาสดาพยากรณ์ศักดิ์สิทธิ์ เป็นการแสดงพระประสงค์ของพระเจ้าที่ตักเตือนสั่งสอนมนุษย์ให้รู้สึกผิดและให้โอกาสกลับตัวใหม่
               6.      เมื่อมนุษย์ตาย   พระเจ้าจะตัดสินพิพากษาด้วยความยุติธรรม  จะลงโทษคนบาปประทานพรแก่คนดี  ชำระบาปให้บริสุทธิ์ในโลกใหม่
               7.      พระเจ้าจะเสด็จมาพิพากษาโลกในวันสิ้นโลก  จะทำลายล้างคนชั่วให้หมดไป  แล้วตั้งอาณาจักรอันบริสุทธิ์ในโลกใหม่
               8.      พระเมสสิอาห์ (Massiah)  คือพระบุตรของพระเจ้า  บางทีเรียกบุตรมนุษย์จะเสด็จมาปราบศัตรูของพระเจ้าและช่วยผู้ที่ชื่อสัตย์ต่อพระองค์ให้พ้นจากทุกข์ทรมาน  จะทรงปกครองโลกด้วยสันติภาพและความรัก  ฉะนั้นให้มนุษย์เตรียมตัวไว้รับพระองค์ด้วยการดำรงค์ชีวิตให้บริสุทธิ์
               9.      การถือปฏิบัติตามขนบธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิม  ซึ่งระบุไว้บนพระคัมภีร์เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยควบคุมชีวิตมนุษย์ให้อยู่ในความบริสุทธิ์ตามพระประสงค์ของพระเจ้า
               10.     ชาวยิวต้องดำรงชีวิตในความบริสุทธิ์    ตามหลักปฏิบัติว่าด้วยสิทธิ ประการ  
 หลักศรัทธาความเชื่อศาสนายิว - ยูดาย (Judaism)
               เนื่องจากคติความเชื่อถือ  "ความหวังผู้มาโปรด"  ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากคำสอนศาสนาไซโรอัสเตอร์  ทำให้ชาวยิวมั่นใจในคติปรโลกเกี่ยวกับดวงวิญญาณที่มาพัวพันอยู่กับเรื่องของมนุษย์และเรื่องของชีวิตที่ตายแล้วจะร้องกลับฟื้นคืนชีพมาเกิดใหม่ในภพใหม่อีก  และบาปอันบุคคลหนึ่งทำแล้วย่อมต้องมีผลต่อสังคมต้องรับผลร่วมกัน  เรียกว่า บาปกำเนิด  ดังนั้นศาสดาพยากรณ์จึงมีความสำคัญมากที่จะเป็นผู้คอยกำหนดชะตากรรมของสังาคมต้องมีพระผู้ไถ่บาป  "Messiah"
               การทำบาปเป็นสิ่งที่ชำระได้ด้วยการออกนามพระเจ้าโดยวิธีอ้อนวอน ขอให้ทรงช่วย
ความสุขจะเกิดขึ้นได้แก่การสารภาพบาป  เพราะยิวเชื่อว่าผู้ปฏิเสธความผิด  ผู้นั้นจะได้รับโทษหรือความผิดถึง 2 เท่า  ดังนั้น  ยิวจึงถือหลักปฏิบัติว่า  กลัวพระเจ้า
การรักษาบัญญัติของพระองค์เป็นหน้าที่ของมนุษย์เพราะว่าพระเจ้าเป็นผู้ทรงนำคำพิพากษามาให้แก่มนุษย์ในส่วนดี  และส่วนที่ชั่วคือทั้งทุกข์ทั้งสุข  ชีวิตนี้มีเพียงครั้งเดียวความจงรักภักดีและบูชาในพระยะโฮวา  และการปฏิบัติตามเทวโองการผ่านโมเสส  จุดหมายคือการได้อยู่ร่วมกับพระเจ้าในสวรรค์

               ข. ศาสนาคริสต์  หลักศรัทธาความเชื่อศาสนาคริสตร์  ได้ดังนี้
               1. เป็นศาสนาที่สืบทอดประวัติศาสตร์และประเพณีมาจากศาสนายูดาย    ยอมรับคัมภีร์ของยูดายที่ว่า  พระเมสสิอาห์หรือพระผู้มาโปรดและรวบรวมคัมภีร์ใหม่ขึ้น  ประกาศว่า  พระเยซูคือพระเมสสิอาห์  ที่พวดยิวรอคอยอยู่นั้นเอง  จึงทำให้เกิดการแตกแยกกันคือยิวส่วนใหญ่ยอมรับไม่ได้  ปฏิเสธพระเยซูว่ามิใช่พระผู้มาโปรดอย่างสิ้นเชิง  ทำให้ผู้ไม่ยอมรับยังคงเป็นคริสต์ศาสนิกชนต่อไป  ส่วนผู้ยอมรับก็กลายเป็นศาสนิกชนคริสต์ไปแต่ก็ยังปฏิบัติตามพิธีกรรมและประเพณีศาสนารวมทั้งข้อเชื่ออื่น ๆ  อย่างเดียวกัน  เพราะมีประวัติศาสตร์ร่วมกัน
               2. เพราะเชื่อว่า  พระเยซูคือพระผู้มาโปรดองค์จริง  ชาวคริสต์จึงสืบทอดประวัติศาสตร์ของศาสนาเดิมต่อไป  โดยถือว่า  พระเยซูคือประกาศหรือผู้ประกาศข่าวดีไว้ให้เท่านั้น และประกาศว่า  พระเยซูคือมนุษย์ที่เป็นบุตรของพระเจ้า  เมื่อพระเยซูสิ้นชีพแล้ว  สาวกได้พากันออกประกาศคำสอนและจริยาวัตรของพระเยซูว่าพระเยซูเป็นบุตรของพระเจ้าด้วย
               3.  ศาสนาคริสต์ยอมรับคัมภีร์พันธสัญญาเดิมอยู่ก่อนแล้ว  เมื่อพระเยซูสิ้นชีพแล้ว  จึงได้รวบรวมคำสอนกิจกรรมและเหตุการณ์ของเหล่าสาวกที่ได้นิพนธ์เอาไว้  รวมกันขึ้นเป็นคัมภีร์พันธสัญญาใหม่ระหว่าง ปี ค.ศ. 51-100  จากนั้นศาสนาคริสต์ก็พัฒนามาตามลำดับเป็นการปิดประเด็นประวัติศาสตร์แห่งการรอคอยของศาสนายูดายลง
              
                ค. ศาสนาอิสลามหลักศรัทธาความเชื่อ มีดังนี้
               1.      เป็นศาสนาแห่งการมอบตนต่ออัลเลาะห์ด้วยศรัทธา  เพื่อความสันติสุข  ต้องปฏิบัติตาม
กฎเกณฑ์ที่รวบรวมขึ้นไว้ในคัมภีร์อัลกุลอานอย่างเคร่งครัด  ซึ่งครอบคลุมกิจกรรมของชีวิตตั้งแต่เกิดจนตาย  โดยมีความเชื่อเป็นสำคัญดังข้อความว่า "โอ้ มูฮำมัด จงกล่าวกับพวกไม่ยอม  เชื่อเถิดว่า  พวกเจ้าทั้งหลายจะถูกพิชิต  และพวกเจ้าจะถูกไล่ต้อนสู่นรกยะฮันนัม  อันเป็นที่พักที่เลวยิ่ง" ดังนี้
               2.      อิสลามถือว่าในการปฏิบัติศาสนาให้ถือเอาเทวโองการ  วจนะ จริยาวัตรของศาสดามุฮำ
มัด  เป็นเกณฑ์ตัดสินแต่เมื่อมีปัญหาให้ถือเอาคำชี้ขาดของผู้มีอำนาจในศาสนาเป็นหลัก
               3.      ศาสนาอิสลามตั้งอยู่บนเทวโองการที่ประทานแก่ศาสดามุฮัมมัด  ผ่านศาสนทูต  เปิดเผย
ครั้งแรกในวันที่  27 เดือนรอมฏอน ค.ศ. 610 ในถ้ำ  ฮิรอบนภูเขานูร์  เมื่อที่ศาสดามูฮัมมัดมีอายุ 40 ปี  ขณะนั่งสงบจิตอยู่ในถ้ำ
               4.      เทวโองการที่ศาสดามูฮำมัดได้รับมานั้น  เนื่องจากท่านไม่รู้หนังสือจึงบอกพระวจนะ
เหล่านั้นแก่ผู้ใกล้ชิดบันทึกไว้ครั้งต่อครั้งมีการทรงจำทบทวนสืบต่อกันมา  รอบรวมจารึกไว้เป็นคัมภีร์เมื่อท่านศาสดามุฮำมัดสิ้นชีพแล้ว  ได้6 เดือน
               5.      กฎหมายและระเบียบการดำเนินชีวิตของมุสลิม  นำไปสู่การสำนึกว่ามีพระเจ้าแต่พระ
องค์เดียวคือ  อัลเลาะห์  ทรงเป็นพระผู้สร้างสรรพสิ่ง  และทรงกำหนดระเบียบให้สรรสิ่ง  ทรงกำหนดกฎเกณฑ์ให้มนุษย์ปฏิบัติตามขั้นตอน  ลำดับในประวัติศาสตร์  แต่ทรงประทานกฎระเบียบต่าง ๆ  ที่สมบูรณ์ที่สุดให้กับศาสนทูตสุดท้ายคือมุฮำมัด  ผู้เชื่อฟังบัญชาของพระองค์  จะได้ไปสวรรค์นิรันดร  ผู้ขัดขืนจะได้รับโทษตกนรกนิรันดร
               6.      อิสลามถือว่าทุกคนเกิดมาโดยความปรานีของพระเจ้า  ไม่มีบาปติดตัวมาแต่กำเนิดทุกคน
เสมอกัน  มีสิทธิเท่าเทียมกันในการเข้าใกล้พระเจ้า  ไม่มี  ไม่มีนักพรตทุกคนเป็นมุสลิมเหมือนกันและเมือถึงแก่กรรมแล้วจะได้ไปเกิดอีกครั้งในวันตัดสินบุญ  บาป ต่อหน้าพระเจ้า
               7.      อิสลามถือว่า  ไม่มีผู้ใดมีสิทธิ์ในการไถ่บาปมนุษย์  สิทธิในการไถ่บาปเป็นของอัลเลาะห์
แต่พระองค์เดียว  ทุกคนต้องวิงวอนของอภัยด้วยตนเอง  และอิสลามเป็นคำสอนสุดท้ายที่พระเจ้าทรงประทานมาให้แก่มนุษย์
 สรุปเปรียบเทียบความเชื่อศรัทธาในพระเจ้า  ศาสนายิว - ศาสนาคริสต์ -ศาสนาอิสลาม




ความเชื่อเกี่ยวกับพระเจ้า
               - ศาสนายิว  พระยะโฮวาทรงเป็นพระเจ้าสูงสุดแต่เพียงองค์เดียวเชื่อในพระเยซู เป็นเจ้าสูงสุดเพียงองค์เดียว
               - ศาสนาอิสลาม  มีพระเจ้าแต่พระองค์เดียวคือ  อัลเลาะห์  ทรงเป็นพระผู้สร้างสรรพสิ่ง  ยอม
รับในเอกภาพของอัลเลาะห์ และยอมรับความเป็นศาสดาของท่านมุฮำมัด
               - ศาสนาคริสต์  ยอมรับในเอกภาพของพระเยซู  และหลักตรีเอกภาพ   (The Holy Trinity) หมายถึง พระเจ้า  ทรงเป็นหนึ่งเดียวในสามบุคคล (One  God : Three PerSon) คือทรงเป็นพระบิดา (The Father) พระบุตร (The Son) และพระจิต (The Holy Spirit)  แต่ละบุคคลเป็นพระเจ้าโดยสมบูรณ์แบบทุกประการ  ทรงมีธรรมชาติเดียว  คือความเป็นพระเจ้า  ไม่ทรงมีเบื้องต้นและเบื้องปลาย  ทรงเป็นอยู่นิรันดร
 ความเชื่อเกี่ยวการกำเนิดโลก
                - ศาสนายิว    หลักความเชื่อ ศาสนายิว-ยูดาย  เกี่ยวกับความเชื่อศรัทธาในพระเจ้า  การสร้างโลกและชีวิต  พระคัมภีร์เดิม(เยเนซิส) ได้กล่าวไว้ว่า  เมื่อเดิมพระเจ้าได้เนรมิตฟ้าและดิน  ดินนั้นก็ว่างเปล่าอยู่มีความมืดอยู่เหนือน้ำ  และพระวิญญาณของพระเจ้าได้ปกคลุมอยู่เหนือน้ำนั้น  พระเจ้าจึงตรัสให้มีความสว่าง  ความสว่างเกิดขึ้น   พระเจ้าเห็นว่าแสงสว่างนั้นดีจึงได้แยกความสว่างนั้นออกจากความมืด  พระจ้าทรงเรียกความสว่างนั้นว่าวัน  และทรงเรียกความมืดนั้นว่าคืน  มีเวลาเย็น และเวลาเช้าเป็นวันที่หนึ่งจากนั้นพระเจ้าก็ทรงตรัสให้มีวันที่ 2-3-4-5-6-7
               วันที่ 1 ทรงสร้างกลางวันและกลางคืน
               วันที่ 2 ทรงสร้างน้ำ  อากาส และสวรรค์
               วันที่ 3 ทรงสร้างแผ่นดิน
               วันที่ 4 ทรงสร้างด้วยอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดวงดาว
               วันที่ 5 ทรงสร้างสรรพสัตว์
               วันที่ 6 ทรงสร้างมนุษย์
               วันที่ 7 คือวันเสาร์เป็นวันผักผ่อนและนมัสการพระเจ้า
               พร้อมกับทรงเนรมิตฟ้า ดิน โลก สิ่งต่าง ๆ  ขึ้นในโลก  รวมทั้งพืชพันธุ์  สัตว์ต่าง ๆ  และมนุษย์ขึ้นๆ ไว้ พระเจ้าทรงสร้างมนุษย์ด้วยผงคลีดิน  ทรงระบายลมแห่งชีวิตเข้าทางจมูก  ให้มีชีวิตหายใจเข้าออก  มนุษย์จึงเกิดขึ้น  เป็นจิตวิญญาณมีชีวิตอยู่ทรงสร้างมนุษย์คนแรกเป็นชาย  เรียก 
อาดัม  และมนุษย์ผู้หญิงคนแรกเรียก เอวา ตั้งแต่บัดนั้นมา  อาอัมกับเอวา  จึงกลายเป็นมนุษย์คู่แรกของโลกและเป็นบรรพบุรุษของมนุษย์ทั้งปวง
               - ศาสนาคริสต์  พระบิดาทรงเนรมิตฟ้าและดิน สิ่งที่มองไม่เห็นและสิ่งที่มองเห็น
               - ศาสนาอิสลาม  คือจักรวาลนี้ถูกสร้างโดยองค์อัลเลาะทรงสร้างมนุษย์และได้ทรงกำหนดระยะเวลาให้มนุษย์ได้อยู่ในโลกนี้  และพระองค์ได้ทรงกำหนดธรรมนูญอันถูกต้องไว้ด้วย  แต่ขณะเดียวกันพระองค์ก็ทรงเปิดโอกาศให้มนุษย์มีอิสระในการเลือกว่าจะรับธรรมนูญของพระองค์เป็นธรรมนูญแห่งชีวิตหรือไม่  ผู้ใดเลือกปฏิบัติตามก็ได้ชื่อว่า "มุนิน"  ส่วนผู้ที่ปฏิเสธที่จะทำตาม ก็ได้ชื่อว่า "กาฬิร"  ผู้เป็นมุสลิมต้องรับนับคือศาสนาอิสลาม  โดยการศรัทธาอย่างบริสุทธ์ยอมรับในเอกภาพของอัลเลาะห์  และยอมรับความเป็นศาสดาของท่านมุฮำมัดความเชื่อ 2 อย่างนี้เป็นเนื้อหาของบทปฏิญาณตนไม่มีพระเจ้านอกจากอัลเลาะห์และมุฮำมัดเป็นศาสนทูตของอัลเลาะห์
               อิสลามมิได้แยกวัตถุและจิตใจออกจากกัน  ถือว่าชีวิตเป็นเอกภาพอิสลามตั้งขึ้นมาเพื่อทำให้ชีวิตสมบูรณ์ด้วยเหตุนี้  มุสลิมจึงไม่เชื่อการทรมานกาย  ไม่สอนให้มนุษย์หนีออกจากโลกวัตถุ แต่อิสลามถือว่าการยกระดับจิตใจนั้นสามารถทำให้สำเร็จได้โดยการอยู่ในกรอบธรรมของชีวิตที่ยุ่งยากสับสน  จุดมุ่งหมายอิสลามจึงอยู่ที่การสร้างดุลยภาพแห่งชีวิต  คือวัตถุและจิตใจโดยการชี้ทางตรงให้มนุษย์ได้ปฏิบัติตามเพื่อสู่สันติสุขทั้งด้านขัดเกลาจิตใจและการดำรงสันติภาพระหว่างเพื่อนมนุษย์


               - ศาสนายูดาย  การกระทำของมนุษย์จะต้องได้รับคำพิพากษาในวันสุดท้ายแห่งการสิ้นสุดแห่งโลก  ผู้ที่กระทำดีคือเชื่อในพระเจ้าจะมีผู้นำไปสู่สวรรค์อยู่กับพระเจ้า  ผู้กระทำความชั่วคือปฏิเสธพระเจ้าจะต้องไต่สะพานลงนรก  ดวงวิญญาณจะวนเวียนอยู่ใกล้ร่าง  3 วัน แล้วรับคำพิพากษาว่าจะไปทางใด  สวรรค์ที่จะไปมีอยู่ 7 ชั้น  เรียกว่าสวรรค์แห่งอุทยานเอเดน  (Heaven  of   Eden)  สถานที่อันเต็มไปด้วยความสุข  ส่วนนรกก็มีอยู่ 7 ชั้น เหมือนกันแต่เป็นสถานที่อันเป็นที่ทรมานคนบาปชั่วนิรันดร
               - ศาสนาคริสต์  เมื่อตาย  เชื่อว่าวิญญาณแยกออกจากกาย  กายจะเน่าเปื่อย แต่ก็จะกลับฟื้น
คืนขึ้นมาใหม่  ในวันสิ้นโลกแล้วมารวมกับวิญญาณ ส่วนวิญญาณจะถูกพิพากษาทันทีเป็นรายบุคคลไป  ถ้าทำดีจะได้ไปอยู่ร่วมกับพระเจ้าในสวรรค์นิรันดรและถ้าทำชั่วจะถูกพิพากษาให้ลงนรกริรันดรเช่นเดียวกัน
               -ศาสนาอิสลาม อิสลามถือว่าทุกคนเกิดมาโดยความปรานีของพระเจ้า  ไม่มีบาปติดตัวมาแต่
กำเนิดทุกคนเสมอกัน  มีสิทธิเท่าเทียมกันในการเข้าใกล้พระเจ้า  ไม่มี  ไม่มีนักพรตทุกคนเป็นมุสลิมเหมือนกันและเมื่อถึงแก่กรรมแล้วจะได้ไปเกิดอีกครั้งในวันตัดสินบุญ  บาป ต่อหน้าพระเจ้า
 บัญญัติที่สำคัญ  ศาสนายิว - ศาสนาคริสต์ -ศาสนาอิสลาม
 ศาสนายิว - ยูดาย (Judaism)    กฎบัญญัติสูงสุดในศาสนายิว คือ บัญญัติ 10 ประการ  พระคัมภีร์กล่าวว่าโมเสสได้ขึ้นไปเฝ้าพระยะโฮว่าบนยอดเขาไซไน  ทรงจารึกบนศิลา ๒ แผ่นและมอบให้โมเสส  เพื่อไปเป็นกฎหมายปกครองชาวอิสราเอล  ข้อความในพระบัญญัตินั้นครอบคลุมไปทั้งด้านศาสนา การเมือง เศรษฐกิจ และสังคม  เป็นรากฐานของกฎหมาย  ระเบียบ ข้อบังคับ  วินัยและศีล  ข้อห้ามต่าง ๆ  ของศาสนายิวต่อมา ดังนี้
               1.      อย่าได้มีพระเจ้าอื่นต่อหน้าเราเลย
               2.      อย่าทำรูปปั้นสำหรับตน
               3.      อย่าออกพระนามของพระยะโฮวาพระจ้าของเจ้าเปล่า ๆ 
               4.      จงระลึกถึงวันซะบาโตถือเป็นวันศักดิ์สิทธิ์
               5.      จงนับคือบิดามารดาของเจ้า
               6.      อย่าฆ่าคน
               7.      อย่าล่วงประเวณีผัวเมียเขา
               8.      อย่าลักทรัพย์
               9.      อย่าเป็นพยานเท็จต่อเพื่อนบ้าน
               10.    อย่าโลภเรือนของเพื่อนบ้าน อย่าโลภ  ภริยาของเพื่อนบ้าน หรือทาสาทาสีของเขา  หรือ
สิ่งใด ๆ ซึ่งเป็นของเพื่อนบ้าน
 บัญญัติที่สำคัญของศาสนาคริสต์ 
               1.      พระเยซูเป็นพระบุตรของพระเจ้า  ซึ่งพระเจ้าทรงส่งมาให้เกิดในโลกมนุษย์  เพื่อไถ่บาป
มนุษย์ทั้งปวง  มิเพียงแต่เป็นพระเมสิอาห์ของพวกยิวเท่านั้น  แต่เป็นพระคริสต์(Christ)  หมายถึงผู้ที่พระเจ้าเลือกสรรมาเพื่อสร้างสันติ
               2.      ผู้ใดที่เชื่อในพระเยซู  และคำสั่งสอนของพระองค์  จะได้รับความรอดและชีวิตนิรันดร
จะไม่ถูกพิพากษาในวันสิ้นโลก  ส่วนผู้ที่ไม่มีศรัทธาในพระองค์  จะต้องถูกพิพากษาลงโทษ
               3.      สั่งสอนให้ชาวยิวกลับใจใหม่  มิให้นับถือศาสนาเฉพาะในด้านประกอบพิธีกรรมหรือ
ท่องคำสวดด้วยปากโดยไม่จริงใจ  ติดติเตียนพวกพระยิวในนิกายฟาริซาย (Phrisees) และซาดูกาย (Saducees)  ว่าเป็นพวกไม่ได้จริงใจต่อพระเจ้า  ไม่รักพระเจ้าจริง พวกปากว่าตาขยิบแสร้งเป็นผู้เคร่งศาสนาโดยไม่รู้จักพระจ้าที่แท้จริง
                4.      บัญญัติสูงสุดของพระเยซูคือ
               ก.      จงรักพระเจ้าด้วยสุดใจสุดจิตและสุดความคิด
               ข.      จงรักเพื่อนบ้านเหมือนรักตนเอง
               5.      สั่งสอนมิให้กังวลเกี่ยวกับความสุขทางโลก  อันได้จากวัตถุ  แต่ให้แสวงหาความสงบสุข
สันติทางด้านจิตใจ  โดยกล่าวว่า  ผู้ที่ยังห่วงสมบัติและเห็นแก่วัตถุ  จะไม่ได้ขึ้นสวรรค์แต่ผู้ที่สละทุกสิ่งเพื่อพระเจ้าจะได้ชีวิตนิรันดร
               6.      ในด้านการปฏิบัติต่อเพื่อนมนุษย์  พระเยซูสอนว่า  การไม่ทำชั่วตอบแทนชั่ว  หรือทำดี
ตอบแทนดีเท่านั้น  ยังไม่พอ  ทำดีตอบแทนชั่ว  และให้รักศัตรู  ดังที่ได้ทรงเปรียบเทียบว่า  อย่าต่อสู้กับคนชั่ว  ถ้าผู้ใดตบแก้มขวาของท่าน  ก็จงหันแก้มซ้ายให้เขาด้วย
               7.      ความดีสูงสุด  คือการทำตัวตามแบบพระเยซู  เพราะพระเยซูคือพระเจ้า  ซึ่งสำแดงพระ
องค์ให้ปรากฏแก่มนุษย์  คุณธรรมสูงสุดของพระองค์คือความรัก  ความเมตตากรุณา ความอ่อนโยน  ความถ่อมตน  ความอดทนต่อความทุกข์ทั้งปวง  ความชอบ  โดยกล่าวว่า  จงเป็นผู้ดีโดยรอบ (Perfect)อย่างพระบิดาของท่าน
 บัญญัติที่สำคัญของศาสนาอิสลาม  อยู่บนหลักความเชื่อเป็นบทบัญญัติ ดังนี้
1.หลักศรัทธา
               1.      ศรัทธาต่ออัลเลาะห์
               2.      ศรัทธาต่อมะลาอิกะฮฺ
               3.      ศรัทธาต่อคัมภีร์
               4.      ศรัทธาต่อศาสนทูต
               5.      ศรัทธาต่อวันอาวสาน
               6.      ศรัทธาต่อกฎกำหนดสภาวะ
2.หลักปฏิบัติ
               1.      ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับอัลเลาะห์  การนมันสการวันละ 5 ครั้ง  การถือศีลอด 
และการประกอบพิธีฮัจญ์         
               2.      ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์  บริจาคทาน  การแต่งงาน  การอย่า  มารยาท 
ความประพฤติที่ควร  สัจจะทั้งกาย วาจา ใจ  ตรงต่อหน้าที่  ตรงต่อเวลา  มีความละอาย ฯลฯ
               3.      หน้าที่ของมนุษย์กับสังคมและครอบครัว  หน้าที่ของพ่อแม่ลูก  หน้าที่สามีภรรยา  หน้าที่
ต่อเด็กกำพร้า  หน้าที่ต่อคนรับใช้  แม่หม้าย  หน้าที่ต่อเพื่อน  หน้าที่ต่อชาติบ้านเมือง
               4.     กฎหมาย  มรดก อาญา การทำสัญญา ฯลฯ
               5.     เศรษฐกิจ  การค้า  กรรมสิทธิ์ ดอกเบี้ย ฯลฯ
               6.     การเมืองและการปกครอง  หน้าที่ของรัฐ  หน้าที่ของผู้ปกครอง  และผู้อยู่ใต้ปกครอง
โดยตั้งอยู่บนรากฐานแห่งความเชื่อในอัลเลาะห์อย่างเคร่งครัด
 ข้อเปรียบเทียบ หลักบัญญัติ คำสอนของศาสนา คริสต์-อิสลาม-ยูดาย
ชื่อศาสนาและลักษณะเฉพาะ               ข้อห้าม    ข้อให้ปฏิบัติ
คริสต์ศาสนา
ศรัทธาในพระเจ้า   (พระเยซู)

 ศาสนาอิสลาม
ศรัทธาต่อพระเจ้า(อัลเลาะห์)

 ศาสนายูดาย
ศรัทธาต่อพระเจ้า(ยะโฮวา)  
               1.      ห้ามฆ่าคนและห้ามแม้แต่การด่าว่ากล่าวถ้อยคำไม่ดี
               2.      ห้ามล่วงประเวณี
               3.      จงประพฤติตนเป็นคนซื่อตรงอย่าสบถสาบาน
               4.      อย่าต่อสู่กับคนชั่ว
               5.      การโกรธกันระหว่างพี่น้องมีโทษหนัก
               6.      อย่าทำบุญเอาหน้า  อย่าประกอบการกุศลเพื่อหวังความสรรเสริญ

               1.      ไม่นำสิ่งอื่นมาเทียบกับอัลเลาะห์   
               2.      ห้ามเสพสุราและอบายมุขอื่น ๆ
               3.      ห้ามกินเนื้อหมูหรือเนื้อสัตว์ที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
               1.      อย่าได้มีพระเจ้าอื่นต่อหน้าเราเลย
               2.      อย่าทำรูปปั้นสำหรับตน
               3.      อย่าออกพระนามของพระยะโฮวาพระเจ้าของเจ้าเปล่า ๆ
               4.      อย่าฆ่าคน
               5.      อย่าล่วงประเวณีผัวเมียเขา
               6.      อย่าลักทรัพย์
               7.      อย่าเป็นพยานเท็จต่อเพื่อนบ้าน
               8.     อย่าโลภเรือนของเพื่อนบ้าน อย่าโลภ  ภริยาของเพื่อนบ้าน หรือทาสาทาสีของเขา  หรือสิ่งใด ๆ ซึ่งเป็นของเพื่อนบ้าน

               1.      เมตตาปราณี
               2.      รักษาความสามัคคีไม่สร้างความแตกแยก
               3.      อดทนต่อการประทุษร้าย  การถูกข่มเหง
               4.      จงให้อภัยแก่คนทั้งปวง
               5.      รักในทุกสิ่งทุกอย่าง  รักแม้กระทั้งศัตรู

               1.      ถือศีลอด เว้นการกิน การดื่ม การเสพเพื่อให้รู้จักอดกลั้นละเว้นความชั่ว
               2.      การบริจาค  คนรวยมีหน้าที่ป้องกันภัยแก่คนจน
               3.      มีในกรุณาและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อผู้อื่น
               4.      การทำฮัจญ์ ณ นครเมกกะเพื่อเสริมสร้างความรักใคร่สามัคคี
               5.      ศรัทธาต่อพระเจ้า

               1.      จงระลึกถึงวันซะบาโตถือเป็นวันศักดิ์สิทธิ์
               2.      จงนับคือบิดามารดาของเจ้า
               3.     สภาพสังคมศาสนายิว - ศาสนาคริสต์ -ศาสนาอิสลาม
 ศาสนายิว - ยูดาย (Judaism) ในยุคที่ศาสดาถือกำเนิด 
ศาสดาของศาสนายิวหรือยูดาย  ผู้ก่อตั้งคืออับราฮัมบรรพบุรุษของชาวเฮบรู    สภาพสังคมที่อับราฮัมถือกำเนิดนั้น  กล่าวคือ ณ ตำบลอูร์ แคว้นคาลเดีย  บริเวณแผ่นดินแถบอ่าวเปอร์เซียปัจจุบัน  ก่อนคริสต์กาลประมาณ ๑๕๐๐ ปี อับราฮัม  บุตรของเตราห์บรรพบุรุษของชนเผายิวได้ปรากฏขึ้นเป็นผู้นำเผ่าเซมิติก  เมื่อการทำมาหากินในถิ่นนั้นเกิดคับแค้น  อับราฮัมจึงพาพวกพ้องแร่ร่อน  ออกจากคาลเดียไปตามทะเลทรายและขุนเขา  พบที่ใดเหมาะก็ตั้งถิ่นฐานลงในที่นั้นผ่านอาณาจักรบาบิโลนเนียผ่านเขตเมโสโปเตเมือเข้าสู่อียิปต์บริเวณลุ่มแม่น้ำไนล์ตามลำดับ  การอพยพครั้งสุดท้ายของอับราฮัมได้ไปอาศัยอยู่แผ่นดินของชาวปาเลสไตน์  ก่อนเข้าไปเขาได้ประกาศให้ทุกคนทราบว่าเขาพบพระเจ้าและได้ทำสัญญากับพระองค์   โดยที่พระเจ้าจะประทานแผ่นดินสัญญาให้เนื่องจากพระยะโฮวาทรงเป็นพระเจ้าของเผ่าเร่ร่อนอาศัยดินฟ้าอากาศและฝนเพื่อการเพาะปลูกยังชีพตามทะเลทรายจึงได้ปรากฏมีบัญญัติ ๑๐ ประการเป็นวิธีดำเนินชีวิตในระยะนั้น ดังนี้
               1.      สูเจ้าจะต้องไม่บูชาพระเจ้าองค์อื่น
               2.      สูเจ้าจะต้องไม่หล่อรูปเปรียบของพระเจ้าทั้งหลาย
               3.      สูเจ้าจะต้องทำพิธีอุทิศให้แก่ผู้ตาม
               4.      สูเจ้าจะต้องไถ่บาปลูกลาตัวแรกซึ่งเกิดแก่สูเจ้าด้วยลูกแกะ 1 ตัว(ไม่ยอมให้ใครเอาลูก
ลาไปใช้งาน)  สูเจ้าจะต้องไถ่ลูกชายคนแรกที่เกิดแก่สูเจ้า(ไม่ให้เป็นทาสใคร)
               5.      สูเจ้าจะต้องไม่ปรากฏต่อหน้าเราเปล่า ๆ  (จะไม่ออกนามพระเจ้าโดยไม่มีความหมาย)
               6.      สูเจ้าจะต้องทำงาน ๖ วัน ต้องพักผ่อนในวันที่ ๗
               7.      สูเจ้าจะต้องทำพิธีในเวลาเก็บผลดินทผาลัม
               8.      สูเจ้าจะต้องไม่ทำพลีกรรมด้วยเลือดพร้อมกับขนมปังที่มีเชื้อเจือปน  และสูเจ้าจะต้องไม่
ทำให้เครื่องพลีกรรมต่อผู้ตายเหลื่อไว้จนถึงรุ้งเช้า
               9.      สูเจ้าจะต้องพาเด็กที่เกิดใหม่ในหมู่ของสูเจ้ามาเคารพต่อยะหะเวห์ซึ่งเป็นพระเจ้าของ
เจ้า
               10.    สูเจ้าจะต้องไม่ต้นนมของแม่ให้เด็ก
บัญญัติ  10 ประการนั้นถือเป็นจริยวัตรของเผาเฮบรูที่เรร่อนในระยะแรก  เมื่ออับราฮัมถึงแก่กรรม   และลูกชายนคือ  อิซัค  ได้รับตำแหน่งหัวหน้า  และอิซักมีลูกชายสองคนคือเอชาและยาโคป   และชาวฮิบรูนี้แคร่งครัดในพระเจ้าองค์เดียว  จึงได้ชื่อว่า อิสราเอล
               ต่อมาพวกเฮบรูได้ตกเป็นทาศของกษัตริย์ฟาโรห์แห่งอียิปต์ถูกบังคับใช้งานให้สร้างปิรามิตเป็นต้นอย่างทารุนโมเสสได้เป็นหัวหน้าพวกยิวรวบรวมกันได้แล้วจึ้งอพยพหนีออกจากอียิปต์เพื่อไปหาแผ่นดินสัญญาจนถึงใกล้ภูเขาไซไนมีปัญหาในการปกครองและการนำชาวยิว โมเสสขึ้นไปบนภูเขาไวไนแล้วนำบัญญัติ 10 ประการมาประกาศแก่ชาวยิวว่าเป็นเทวองค์การของพระเจ้าที่ทุกคนต้องเชื่อและถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัดประมาณ 1300-1200ปีก่อนคริสต์ศักราช   ชาวยิวหลังจากเรร่อนไปถึงลุ่มแม่น้ำจอร์แดนได้สู้รบกับชาวคานาอันเจ้าของถิ่มเดิมได้รับชัยชนะจึงได้พากันตั้งรกรากครอบครองและรวบรวมชาวยิวทั้งหมดตั้งเป็นอาณาจักรขึ้นมีกษัตริย์ปกครองเริ่มตั้งแต่ซาอูล ดาวิด โซโลมอน  ตามลำดับจนมีเมืองหลวงชื่อว่าอิสราเอล 
               ต่อมาก่อนคริสต์ศักราช 722-486  ปี  อาณาจักยูดายของยิวก็แตกสลายตกเป็นทาสของอาณาจักรบาบิโลเนียเปอร์เซีย  กรีก โรมัน  และมหาอำนาจอื่น ๆ  อีกจนกระทั้งปี ค.ศ. 1947  สหประชาชาติจึงได้ประกาศตั้งประเทศอิสราเองขึ้น    ศาสนายูดายจึงหมายถึงความเชื่อของชาวเฮบรู  หรือยิวที่ตั้งอาณาจักลงที่ตำบลยูดาย
 ศาสนาคริสต์ ในสภาพสังคมที่ศาสดาถือกำเนิด
               ก่อนหน้าที่พระเยซูประสูติ  ประปาเสสไตน์ได้ตกเป็นเมืองขึ้นของจักรวรรดิใกล้เคียงติดต่อกันมาเป็นระยะเวลานานกว่า 100 ปี  เริ่มตั้งแต่ ศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสต์กาลได้ตกเป็นเมืองชึ้นของอัสซีเรีย  บาบิโลเนีย  จักรวรรดิเปอร์เซีย  จักรวรรดิกรีก ในรัชสมัยพระจ้าเล็กซานเดอร์มหาราช  ซีเรีย  และในที่สุดตกมาเป็นอาณานิคมของจักรวรรดิโรมัน  ตลอดระยะเวลาที่ตกเป็นเมืองขึ้นนี้  ผู้พยากรณ์หลายท่านได้พยากรณ์ถึงพระเมสสิอาห์ (Messiah) พระผู้ช่วยให้รอด  ซึ่งเป็นพระบุตรของพระเจ้าที่จะเสด็จมาปลดแอกชาวยิวให้ได้รับเสรีภาพ  และจะทรงไถ่บาปให้ชาวยิวพ้นจากความหายนะ  และได้รับความรอดชั่วนิรันดรในวันนั้น พระเมสิอาห์จะเสด็จมาพิพากษาโลก  จะลงโทษคนชั่ว  คนบาป  และประทานรางวัน  คือชีวิตอมตะแก่ผู้ที่ซื่อสัตย์ต่อพระองค์   ชาวยิวในสมัยนั้นเชื่อถือในคำพยากรณ์นี้มาก  และรอคอยพระเมสสิอาห์  ด้วยความหวัง  พระเยซูประสูติในระยะที่ชาวยิวปรารถนาจะให้พระเมสสิอาห์เสด็จมาโปรดอย่างยิ่ง
สภาพสังคมในพระคัมภีร์มัดธาย  กล่าวว่า  พระเยซูสอนว่า  ท่านทั้งหลายได้ยินคำที่กล่าวไว้ว่า  จงรักคนสนิทและเกลียดชังศัตรูฝ่ายเราบอกท่านว่า  จงรักศัตรูและอวยพรแก่ผู้ที่แช่งด่าท่าน  จงทำคุณแก่คนที่เกลียดชังท่าน  และขอพระให้แก่ผู้ที่ประทุษร้ายเคี่ยวเข็นท่าน   เพื่อท่านทั้งหลายจะเป็นบุตรของพระบิดาของท่านผู้อยู่ในสวรรค์  และในพระคัมภีร์มัดธายนั้นเอง  พระเยซูสอนอีกว่า  ท่านทั้งกลายได้ยินซึ่งคำกล่าวไว้แก่คนในครั้งโบราณว่า  อย่าฆ่าคน  ถ้าผู้ใดฆ่าคน  ผู้นั้นจะถูกปรับโทษฝ่ายเราบอก่านทั้งหลายว่า  ผู้ใดโกรธพี่น้องขอตนผู้นั้นถูกปรับโทษ  ผู้ใดพูดกับพี่น้องว่าอ้ายโง่  ผู้นั้นจะต้องถูกปรับโทษที่ศาลสูง  และผู้ใดว่าอ้ายบ้า  ผู้นั้นจะมีโทษถึงไฟนรก  เหตุฉนั้นถ้าท่านนำเครื่องบูชามาถึงท่านแล้วและระลึกไว้ว่าท่านมีเหตุขัดเคืองข้อหนึ่งกับพี่น้อง  จงวางเครื่องบูชาไว้หน้าแทนแล้ว  ไปคืนดีกับพี่น้องผู้นั้นเสียก่อน  จึงค่อยมาถวายเครื่องบูชาของท่าน
ศาสนาคริสต์พัฒนามาจากศาสนายิว  มีพระเยซูเป็นศาสดา  พระองค์มิได้ทรงปรารถนาตั้งศาสนาใหม่  แต่ประสงค์จะปฏิรูปศาสนายิวให้บริสุทธิ์  ทรงเห็นว่าพวกยิวโดยเฉพาะพระมิได้มีศรัทธาอย่างจริงจัง  ทรงต้องการให้ชาวยิวมีความเข้าใจในศาสนาและพระเจ้าทีเขานับถือลึกซึ่งขึ้น
สภาพสังคมที่ศาสดาถือกำเนิดเกิดที่เบื้องนาซาเรส  แคว้นกาลิเล  ประเทศปาเลสไตน์  เมื่อ พ.ศ. 543 สิ้นชีวิตเมื่ออายุได้ 33 ปี พ.ศ. 576  เผยแพร่ศาสนาอยู่ 3 ปี   
               สังคมในสมัยนั้นในคัมภีร์กล่าวว่า  มาเรียผู้เป็นพระมารดาของพระเยซูนั้น  เดิมโยเซฟไปสู่ขอหมั้นกันไว้แล้วก่อนที่จะอยู่กินด้วยกันก็เห็นนางมาเรียมีครรภ์แล้ว   ด้วยเดชพระวิญญาณบริสุทธิ์แต่โยเซฟคู่หมั้นของเขาเป็นคนดีสัตย์ซื่อ  ไม่พอใจที่แพร่งพรายความเป็นไปของนางนั้น  หมายจะให้นางนั้นหลบไปเสีย  เป็นการลับ   แต่เมื่อโยเซฟยังตริตรองด้วยเรื่องนี้ก็มีทูตองค์หนึ่งของพระเจ้ามาปรากฏแก่โยเซฟ  ในความฝันว่า  โยเซฟ บุตรของดาวิดอย่าวิตกในการที่จะรับมาเรียเป็นภรรยาของเจ้าเลย  เพราะว่าผู้ที่ปฏิสนธิในครรภ์ของนางนั้นเป็นโดยเดชพระวิญญาณบริสุทธิ์ นางนั้นจะประสูติ  บุตรเป็นชาย  แล้วจงเรียกนามท่านว่า เยซู
               เมื่อโยเซฟตื่นขึ้นก็ปฏิบัติตามคำของทูตแห่งพระเจ้า  คือรับมาเรียมาอยู่กันด้วยกัน  แต่มิได้สู่สมอย่างสามีภรรยาพระเยซูได้รับการศึกษาและการเลี้ยงดูอย่างดี  รู้ภาษากรีกและศึกษาพระคัมภีร์เก่าได้อย่างเข้าใจ  มอบตัวเป็นศิษย์ของโยฮัน  ผู้แตกฉานในคัมภีร์ของยิวในสมัยนั้น  พระเยซูมีอุปนิสัยของความสงบ  ได้ทำทุกรกิริยา อดอาหาร 40 วัน  อยู่ในที่สงัดเพื่อตรึกตรองหาธรรม
               การสอนของพระเยซูที่สำคัญคือการเทศนาบนภูเขา  ซึ่งเป็นเรื่องการปลุกปลอบใจให้ความหวังแก่ชีวิตดังของความว่า  ผู้ที่รู้สึกความบกพร่องทางจิตใจจะได้รับความสุขเพราะว่าสวรรค์เป็นของเขาแล้ว  ผู้มีจิตใจบริสุทธิ์ได้ชื่อว่าเห็นพระเจ้าผู้ที่สามารถการประทุษร้ายได้ทนการข่มเหงนินทาได้  จะได้รับบำเหน็จจากสวรรค์ดังนี้เป็นต้น  และได้ประกาศว่า  พระองค์ไม่มีเจตนาจะทำลายล้างพระบัญญัติแต่จะทำให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น  ดังนั้น  คำสอนของพระเยซูใช้วิธีการเผยแผ่ศาสนาด้วยการอ้างอิงปาฏิหาริย์ของพระเจ้า  ในการรักษาคนป่วย เช่น  รักษาโรคเรื้อนให้หายได้  รักษาคนง่อยให้เดินได้  รักษาคนใบ้ให้พูดได้  รักษาคนตายบอดให้กลับแลเห็นได้  และพระเยซูมีอัครสาวา  12 คนด้วยกัน 
               พระเยซูประกาศศาสนาอยู่เป็นเวลา 3 ปี  วันสุดท้ายในพิธีปัสคา  ซึงเป็นวันเทศกาลกินขนมปัง  ไม่มีเชื้อ  พระเยซูพร้อมกับสาวก  12 คน  กำลังรับประทานอาหารมื้อสุดท้ายก็ถูกทหารโรมัน  จัดด้วยข้อหาว่าเป็นกบฏต่อซีซาร์โรมัน  ตั้งตนว่าเป็นบุตรพระเจ้า  และเป็นพระเมสสิอาห์แล้วให้ลงโทษประหารชีวิต  โดยการตรึงกับไม่กางเขน 3 วัน  ภายหลังพระเยซูกลับลุกขึ้นมาได้และลอยขึ้นไปสวรรค์ไป
 ศาสนาอิสลาม(Islam)  สภาพสังคมที่ศาสดาถือกำเนิดคือ
               คำว่า อิสลาม แปลว่า  ศาสติ  ความสงบสุข  โดยการยอมรับการมอบตนต่อองค์อัลเลาะห์แต่พระองค์เดียว  อิสลามเป็นแนวทางการดำเนินชีวิตของมุสลิม  ซึ่งได้มาจากคัมภีร์อัลกุรอาน  และจริยวัตรของศาสดามุฮำมัด  ศาสดามุฮำมัด เกิดปี ค.ศ.570  ที่เมื่องเมกกะเผ่ากุเรชตระกูลเคร่งศาสนาเป็นกำพร้ามารดาและบิดามาแต่เล็ก  ต้องอยู่ในความดูแลของป้ากับลุง  ศาสดามุฮำมัด  เป็นชายมีบุคลิกภาพดีมีวาจาไพเราะชอบการค้าขายแต่งงานกับหญิงหม้าย  ซึ่งมีอายุแก่กว่า  ๑๕ ปี  เป็นเจ้าของการค้า  ชื่อ คาดิยาห์(Khadejah) มีบุตร ๖
               ศาสดามุฮำมัด  มีอุปนิสัยโน้มไปทางสงบชอบความสงัดมักจะออกไปหาความสงบสุขตามขุนเขาทุ่งกว้าง  และทะเลทราย  เมื่ออายุ 40 ปี  วันหนึ่งขณะนั่งสงบอยู่ในถ่ำฮิรอบภูเขานูร์ก็ได้รับวิวรณ์จากพระเจ้าให้เผยแพร่ศาสนา  และได้ยึดเอาสถานที่ที่ประดิษฐ์หินมาบะห์ (Kabah)  เป็นที่ประกาศสัจธรรมเป็นต้นมา  ระหว่างประกาศศาสนาต้องทำสงครามต่อสู่กับฝ่ายปฏิปักษ์จนในที่สุดเป็นฝ่ายชนะและดับขันธ์เมื่ออายุ 63 ปี  ประกาศศาสนาอยู่ 23 ปี

ชื่อศาสนา               ผู้ก่อตั้ง    พระเจ้า   สถานที่เกิด            คัมภีร์      พ.ศ / ค.ศ.               เผยแผ่
ศาสนาคริสต์
ศาสนาอิสลาม
ศาสนายูดาย(ยิว)     เยซู
มุหมัด
โมเสส     ยะโฮวา
อัลเลาะห์
ยะโฮวา   ปาเลสไตน์
อาหรับ
ปาเลสไตน์             ไบเบิ้ล
อัล-กุระอ่าน.โกหร่าน
ทัลมุด, โตราห์,ไบเบิ้ลเก่า     หลัง พ.ศ.543  ปี
หลัง พ.ศ.1113  ปี
ก่อน พ.ศ.2000  ปี  3ปี
23ปี
ไม่ปรากฏ

การค้นพบธรรมของศาสดา
               -  ศาสนาอิสลาม    มุฮำมัดนั่งสงบอยู่ในถ่ำฮิรอบภูเขานูร์ก็ได้รับวิวรณ์จากพระเจ้าให้เผยแพร่ศาสนา  และได้ยึดเอาสถานที่ที่ประดิษฐหินมาบะห์ (Kabah)  เป็นที่ประกาศสัจธรรม
               -  ศาสนายูดายหรือยิว   โมเสสขึ้นไปบนภูเขาไวไนแล้วนำบัญญัติ 10 ประการมาประกาศแก่ชาวยิว
               - ศาสนาคริสต์  พระเยซูได้รับการศึกษาและการเลี้ยงดูอย่างดี  รู้ภาษากรีกและศึกษาพระคัมภีร์เก่าได้อย่างเข้าใจ    มอบตัวเป็นศิษย์ของโยฮัน    ผู้แตกฉานในคัมภีร์ของยิวในสมัยนั้น  พระเยซูมีอุปนิสัยของความสงบ  ได้ทำทุกข์กรกิริยา อดอาหาร 40 วัน  อยู่ในที่สงัดเพื่อตรึกตรองหาธรรม
                

               นิกายและพิธีกรรม  ศาสนายิว - ศาสนาคริสต์ -ศาสนาอิสลาม


 พิธีกรรมที่สำคัญในศาสนายิว - ยูดาย (Judaism)  มีดังนี้
               1.      วันซะบาโต (Sabbath)  คือวันที่เจ็ดของสัปดาห์  ถือเป็นวันบริสุทธิ์  ห้ามทำกิจกรรมใด ๆ 
ทุกประการ ใช้เวลาทั้งหมดเป็นวันพักผ่อน  สวดมนต์อธิฐานภาวนา  การอ่านคัมภีร์นมัสการและขอบคุณพระเจ้า
               2.      พิธีปัสคา (Pesach) เป็นพิธีกรรมสำคัญเกิดในสมัยของโมเสส  เมื่อคืนวันก่อนที่ชาวยิวจะ
อพยพออกจากอียิปต์  พระเจ้าได้สั่งให้ชาวยิวฆ่าและทำอาหารรับประทานกับขนมปังไม่มีเชื้อและให้รับประทานให้หมดในวันเดียว  ไม่ให้เหลือค้างให้ทุบหมดในเครื่องครัวและนำไปเฉพาะแป้งที่ไม่มีเชื้อ  นอกจากนั้นให้เอาเลือดแกะป้ายไว้ที่หน้าประตู  เพราะคืนนั้นพระเจ้าจะส่งทำทูตมรณะมาฆ่าทุกคนที่ไม่ใช่ชาวยิว  คือผู้ที่ไม่มีเลือดแกะทาไว้ที่ประตู  ประตูใดมีเครื่องหมายด้วยเลือดแกะดังกล่าว  ทูตมรณะก็จะข้ามไปจึงเรียกว่า  "ปัสคา" แปลว่า "ข้ามไป" ชาวยิวฉลองวันนี้ด้วยการเลี้ยงใหญ่และอธิฐานขอบคุณพระจ้า  พิธีฉลองใช้เวลา ๘ วัน  ในวันสุดท้ายมีการฉลองใหญ่และทุกคนก็จะร้องขึ้นพร้อมกันว่า " ปีหน้าพบกันที่เยรูซาเล็ม" 
               3.      พิธีฉลองปีใหม่ ที่เรียกว่า ร็อช ฮัชชานาฮ์  (Rosh Hashanah)
นอกจากพิธีทั้ง 3 แล้วยังมีพิธีฉลองต่างอีกมาก เช่น พิธีฉลองพืชผลในฤดูเก็บเกี่ยว  วันฉลองสัปดาห์  วันชำระบาป  เป็นต้น ศูนย์กลางของศาสนายิวคือ  กรุงเยรูซาเล็ม  เป็นนครศักดิ์สิทธิ์  เป็นที่กษัตริย์โซโรมอนประดิษฐานหีบแห่งพันธสัญญาอันศักดิ์สิทธิ์ (The Aek  of covenan)


                พิธีกรรมในศาสนาคริสต์  ที่สำคัญ  คือ

               1. ศีลล้างบาป หรือศีลจุ่ม (Sacraments)  กระทำเมื่อเป็นทารก  หรือเมื่อเข้าเป็นคริสต์ศาสนิกชน  พิธีกระทำตามแบบของพระเยซูเมื่อก่อนทรงออกเทศนา  ในนิกายคาทอลิกปัจจุบันไม่จุ่มตัวในน้ำ  ใช้น้ำศักดิ์สิทธิ์เทบนศีรษะเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของการล้างบาป ศีลนี้สำคัญที่สุด  ผู้ใดไม่ได้รับศีลล้างบาป  จะไม่ได้ชีวิตนิรันดร
               2. ศีลกำลัง (Confirmation)  กระทำอีกครั้งหนึ่ง เพื่อพ้นวัยเด็กและเป็นผู้ใหญ่แล้วเพื่อเป็นคริสต์สาสนนิกชนที่สมบูรณ์
               3. ศีลมหาสนิท (Holy Communion) สำหรับคริสต์ศาสนิกชนที่สมบูรณ์ทุกคน  อาจจะกระทำทุกวัน  ทุกสัปดาห์ ทุกเดือน หรืออย่างน้อย ปีละ 1 ครั้ง  โดยรับประทานขนมปังและเหล้าองุ่น  เป็นสัญลักษณ์ตามแบบที่พระเยซูได้กระทำแก่อัครสาวก  ในพระกระยาหารมื้อสุดท้ายก่อนทรงถูกตรึงเพื่อเป็นพิธีระลึกถึงการที่ทรงเสียสละพระกายและพระโลหิต  เพื่อมนุษย์จะได้รอดพ้นจากบาป  ขนมปังคือพระกาย  และเหล้าองุ่นคือพระโลหิต  ฝ่ายคาทอลิกเชื่อว่า  ในขณะกระทำพิธีนี้  ขนมปังและเหล้าองุ่นจะถูกเนรมิตแปรสารกลายเป็นพระกายและพระโลหิตของพระเยซูอย่างแท้จริง  ผู้ที่ได้รับประทาน  จะมีชีวิตนิรันดร
               4. ศีลแก้บาป (Penance) สำหรับคาทอลิกที่ได้กระทำบาปประสงค์จะได้รับการอภัยบาป  ต้องไปสารภาพบาปนั้นต่อนักบวชด้วยความสำนึกผิดอย่างแท้จริง  ถือว่านักบวชได้รับอำนาจในการยกบาปโดยตรงจากสันตปาปา  ซึ่งเป็นผู้แทนของพระเยซูคริสต์  นักบวชจะอำนวยพรยกบาป  จะตักเตือนสั่งสอนมิให้ทำบาปอีก  และจะกำหนดกิจศาสนาให้กระทำเพื่อใช้โทษแต่ผู้ใดสารภาพด้วยความไม่จริงใจ  หรืออำพรางความบาป  ก็ถือเป็นบาปอย่างหนัก
               5. ศีลเจิมคนไข้ (Extreme  Unction) กระทำเมื่อคนไข้เจ็บหนักใกล้จะตาย  เมื่อชำระบาปครั้งสุดท้าย  และช่วยให้มีสติกำลังสามารถต่อสู้ความตายได้จนถึงที่สุด  เป็นการบรรเทาวิญญาณและร่างกายของผู้ป่วยโดยบาทหลวงให้น้ำมันศักดิ์สิทธิ์เจิมทาที่ตา หู จมูก ปาก มือ และเท้าของคนไข้  พร้อมกับสวดอวยพรทุกคนในบ้านจะต้องสวดพร้อมกัน
               6. ศีลสมรสหรือศีลกล่าว (Mateunony) กระทำแก่คู่บ่าวสาวในพิธีสมรส  ผู้ที่รับศีลสมรสโดยถูกต้องแล้ว  จะหย่าร้างกันไม่ได้  และห้ามสมรสใหม่นขณะที่สามีภรรยายังคงมีชีวิตอยู่การจดทะเบียนสมรสตามกฏหมายโดยไม่ได้รับศีลสมรสไม่ถือว่าเป็นสามีภรรยาโดยถูกต้องตามกฏของศาสนา
               7. ศีลอนุกรม (Holy Order หรือ Ordination) เป็นศีลบวชให้บุคคลเป็นบาทหลวงผู้มีอำนาจโปรดศีลอนุกรมคือสังฆราช ซึ่งถือเป็นผู้แทนของพระเยซูคริสต์  เมื่อรับศีลอนุกรมแล้วไม่อนุญาตให้สมรส  กฎข้อนี่เกิดขึ้นหลังสมัยพระเยซู  ในรวมต้นสมัยกลางเดิมพวกสาวกในสมัยแรกมีครอบครัวได้  ต่อมาเริ่มมีพวกพระไม่สมรสมากขึ้น  พระศาสนาจึงออกกฎตายตัวห้ามพระรับศีลอนุกรมสมรส


 พิธีกรรมศาสนาอิสลาม มีหลักปฏิบัติดังนี้
              
               1.การปฏิญาณตน  เชื่อ  และเป็นสักขีพยานในความเป็นเอกภาพของพระเจ้า  กับศาสนทูตนะบีมูฮำมัด  เพื่อยืนยันความเชื่อถือในเอกภาพของอัลเลาะห์และเป็นการให้คำมั่นสัญญาว่าตนจะเคารพภักดีต่ออัลเลาะห์พระองค์เดียว  ไม่นำสิ่งใดมาเป็นภาคีกับพระองค์  และให้คำมั่นว่าท่านศาสดามูฮำมัดเป็นศาสนทูตของพระองค์  ทั้งเป็นการสัญญาโดยปริยายว่าจะปฏิบัติตามคำสอนของอัลเลาะห์และศาสนทูตของพระองค์ด้วย
               2. ทำนมัสการวันละ 5 ครั้ง (ละหมาด) การทำนมัสการวันละ 5 ครั้ง ในวันหนึ่งกับคืนหนึ่งนั้น  เป็นการยืนยันว่าบุคคลนั้นต้องอยู่ในหลักศรัทธาเป็นกิจวัตร  ที่ต้องกระทำตอนเข้าตรู่  ก่อนดวงอาทิตย์ขึ้น  เวลาบ่าย  เวลาเย็น  เวลาพลบค่ำ และเวลา กลางคืน   จุดมุ่งหมายของการนมัสการ 5 เวลาคือ
                -ให้เกิดความนอบน้อมถ่อมตน
               -ขัดเกลาจิตใจและสอนให้รู้จักมารยาทในการแสดงความภัคดี
               -ให้รู้จักตรงต่อหน้าที่และตรงต่อเวลา
               -ให้ตระหนักถึงความเสมอภาค  เคียงบ่าเคียงไหล่ ไม่แบ่งชั้นวรรณะ
               -ให้เกิดคามยำเกรงต่อคามเกรียงไกรของพระผู้เป็นเจ้า  รักษาสัจจะ  ซื่อตรง ไม่โลภ  มีสำนึกต่อความเป็นธรรม
               -เคร่งครัดต่อระเบียบ  และเคารพกฎหมายการนมัสการนี้จะทำคนเดียวก็ได้  แต่ถ้าจะร่วมกันทำเป็นหมู่ยิ่งได้กุศลเพิ่มขึ้น  มีข้อห้ามในการนมัสการเมื่อเวลามึนเมา
               3. การถือศีลอด  การถือศีลอดเป็นหลักมูลฐานของอิสลามข้อหนึ่งที่มุสลิมทุกคนต้องปฏิบัติ  มีกำหนดขึ้นในทุก ๆ ปี ๆ ละ1 เดือน  คือทำในเดือนรอมฎอน  อันเป็นเดือนที่ 6 แห่งปีอิสลาม  นับแยยจันทรคติ
               ช่วงเวลาแห่งการถือศีลอดนี้มีขึ้นเฉพาะเวลากลางวันนับแต่รุ่งอรุณของวันจนดวงอาทิตย์ตกในวันนั้น  ส่วนกลางคืนเป็นช่วงเวลาปรกติ  จะกินหรือดื่มได้โดยเสรี
               4. การบริจากทรัพย์เป็นทาน (ชะก๊าต)  ในอิสลามมีข้อบัญญัติว่าด้วยเรื่องบริจาคอันเป็นส่วนแห่งการประกันสังคมไว้ด้วย  และเรื่องนี้เป็นหลักมูลฐานของอิสลามข้อหนึ่งใน 5 ข้อซึ่งมุสลิมผู้มีฐานะพึงกระทำได้  ต้องทำการบริจาคทรัพย์เป็นทาน  ตามหลักการศาสนาแบ่งเป็น 2 ประเภท  โดยเฉพาะทานในเกณฑ์บังคับ  คือบัญญัติสำหรับผู้มีฐานะดี  โดยต้องปันส่วนแห่งทรัพย์สินอันตนมีอยู่ให้แก่ผู้พึงได้รับ  8 จำพวก 
               5. การประกอบพิธีอัจญ์  คือการเดินทางไปกระทำพิธีตามศาสนบัญญัติ    นครเมกกะประเทศซาอุดิอาระเบีย  ไปพบพี่น้องร่วมศาสนาที่มาจากส่วนต่าง ๆ  ของโลก  ไปอยู่ร่วมกัน  มีการกระทำเหมือน ๆ กัน  ในสถานที่เดียวกัน  โดยมีจุดมุ่งสู่พระผู้เป็นเจ้าองค์เดียวกัน  แม้จะแตกต่างกันในด้านภาษา  วัฒนธรรม  เชื้อชาติ ฐานะ ประเพณี  แต่เขามิได้แตกต่างกันในฐานะเป็นบ่าวของอัลเลาะห์  และเป็นพี่น้องร่วมศาสนา  นอกจากจะเป็นคนที่ปฏิบัติตามพระบัญญัติแล้วยังมีจุดหมายอีกคือ
               1. เพื่อให้มีการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์และแลกเปลี่ยนความคิดซึ่งกันและกัน
               2. เพื่อแสดงให้เห็นถึงเอกภาพและความเท่าเทียมกันของมนุษย์ที่มาจากส่วนต่าง ๆ ของโลก
               3. เพื่อแสดงให้เห็นแม้ว่าจะมีฐานันดรของสังคมต่างกัน  แต่เมื่อมาอยู่ต่อหน้าพิธีของพระเจ้าแล้ว  ทุกคนมีฐานะเท่าเทียมกัน  จะนำมาซึ่งความเข้าใจกันได้ง่ายนอกจากนี้มุสลิมยังมีข้อห้ามต่างที่ชาวมุสลิมต้องละเว้นอีกมาก  ฯลฯ
 นิกายและประวัติความเป็นมาของศาสนา  คริสต์ - อิสลาม - ยิวหรือยูดาย
ชื่อศาสนา               นิกาย      ประวัติ
ศาสนาคริสต์
มี 3 นิกายคือ          1.      นิกายโรมันคาทอลิก


2.      นิกายออร์โธด็อกซ์


3. นิกายโปรเตสแตนต์                   ยึดถือความเชื่อดั้งเดิมว่าศาสนาคริสต์เป็นศาสนาสากล ปฏิบัติเคร่งในอิตาลี
        
        แยกออกจากนิกาโรมันคาทอลิก ด้วยเหตุผลทางการเมือง ปฏิบัติแพร่หลายในรัสเสีย กรีก
      
         แยกออกจากนิกาโรมันคาทอลิก นำโดยมาตินลูเธอร์  คริสต์ทุกคนเป็นพระ  ในเยอรมัน
นิกายในศาสนายิว
มี 4 นิกายคือ          1.      นิกายออร์ธอดอกซ์ (Orthodox)

               2.      นิกายปฏิรูป (Reform)

               3.      นิกายคอนเซอร์เวตีฟ (Consevative)

               4.       นิกายรีคอนสตักชั่น (Reconstructionism)          ยึดถือประเพณีอย่างเคร่งครัด  ไม่เปลี่ยนแปลงประเพณีโบราณ

        ตีความพระคัมภีร์ให้เข้ากับกาลสมัย แก้ไขปรับปรุงได้


        นิกายเดินสายกลาง


        นิกายที่ได้รับอิทธิพลจากจากปรัชญาลัทธิปฎิบัตินิยมและลัทธิธรรมชาตินิยม

นิกายของศาสนาอิสลาม
เกิดจากความคิดเห็นของสาวกตีความหมายและปฏิบัติศาสนกิจไม่ตรงกัน จึงแบ่งเป็น 6 นิกาย    1.   นิกายซุนนี (Sunni)

3.      นิกายชีอะห์ 
       (Sheite)


4.      นิกายซูฟี (Sufi))



5.      นิกายวาฮาบี  (Wahabi)
                         เป็นนิกายที่ชาวมุสลิมยึดถืออัลกุรอานและจริยวัฒนของค์ศาสดา นะบี  มูฮำมัดเป็นหลัก
         เป็นนิกายที่มีคามเชื่อมั่นในเอกภาพของพระเจ้าในศาสนาทั้งหลาย  และในอีหม่าม  ซึ่งสืบเนื่องจากศาสดาเหล่านั้น  โดยกล่าวคำปฏิญาณเพิ่มข้อคามว่า  "อาลีเป็นมิตร (วาลี) ของพระเจ้า"
          เป็นนิกายที่เริ่มขึ้นในเปอร์เซีย  ปฏิเสธความหรูหราฟุ่มเฟือยเน้นความศรัทธาต่อพระเจ้า  ควรจะเป็นผู้เคร่งครัดไม่ใยดีต่อทรัพย์สมบัติและต่อโลก  ควรบำเพ็ญตบะและพรตอย่างสงบ
          เป็นนิกายที่ถือว่าอัลกุรอานเป็นใหญ่และสำคัญที่สุด  ไม่เชื่อว่ามีผู้อยู่ระหว่างพระเจ้ากับมนุษย์และประณามการขอพร    สุสานของศาสดามุฮัมมัด
ชื่อศาสนา               นิกาย      ประวัติ
               6.      นิกายอิสมาอีลียะห์ (Ismailia)


               6.   นิกายคอวาริจ (Khawarij)               เดิมนิกายนี้มีทรรศนะเช่นเดียวกับนิกายซีอะฮ์ทุกอย่าง 
แต่ต่อมาได้ขัดกันเรื่องอีหม่าม  นับตั้งแต่อิหม่ามคนที่ 6 คือนิกายนี้นับถืออิสมาอีลเป็นอิหม่ามสืบต่อมา  ปฏิบเสธมูซาเป็นผู้นำ  และประกาศว่า  "อิหม่ามหรือผู้นำนั้นไม่จำเป็นต้องเผยตัวให้ใครทราบก็ได้  โดยจะอยู่อย่างลึกลับก็ได้  ไม่ต้องรับผิดชอบใด ๆ  ทั้งสิ้น  ศาสนิกไม่มีสิทธิที่จะวิจารณ์หรือตำหนีการกระทำของผู้นำ  แม่คนทั่วไปจะมองว่าผิด  ผู้นำย่อมถูกเสมอ"   และนิกายนี้ไม่ยอมรับผู้เป็นคอลีฟะฮ์ต่อจากศาสดามูฮำมัดเพราะถือว่าเป็นผู้ละเมิดศาสนา  แย่งตำแหน่งของท่านอาลี  ซึ่งถือว่าเป็นผู้นำคนแรกต่อจากท่านศาสดามูฮำมัด

        นิกายนี้แยกตัวออกเพราะไม่พอใจในการสิ้นชีวิตของอุสมาน  อิหม่ามองค์ที่ 3 เนื่องจากอาลีอิหม่ามองค์ที่ 4 ไม่สามารถจับตัวคนร้ายมาลงโทษได้จึ้งตั้งรัวเป็นปฏิปักษ์ไม่ยอมเชื่อฟังหรือปฏิบัติตามผู้นำไม่ว่ากรณีใด ๆ จึงเกิดสงครามขึ้น  กองทัพทั้ง 2 ฝ่าย  ปะทะกันที่ชายฝั่งแม่น้ำซีฟฟีนในที่สุดอาลียอมเจรจาตกลงทำสัญญา  พวกคอวาริจที่ไม่พอในได้แยกตัวออกมาตั้งกองทัพใหม่  โดยฉีกสัญญาหยุดรบ  ประกาศเป็นศัตรูกับอาลีโดยเปิดเผยนิกายนี้ยอมเชื่อฟัเฉพาะอัลเลาะห์องค์เดียว  และได้ตั้งสังคมขึ้นใหม่ให้สอดคล้องกับพระคัมภีร์ประกาศอิสรภาพในการเลือกผู้นำว่าไม่ควรจำกัดอยู่เฉพาะในเผ่ากุเรชเท่านั้น  ผู้เป็นมุสลิมไม่ว่าเป็นชนชาติใดก็เป็นผู้นำได้และเลือกผู้นำได้


5. หลักการที่เป็นสากลในทุกศาสนา
                ศาสนาต่าง ๆ ในโลก  เกิดจากนำปราชญ์นักคิด  ได้คิดและกำหนดแนวปฏิบัติตามความคิดความเชื้อไว้  จุดมุ่งหมายก็เพื่อช่วยแก้ปัญหาต่างๆ  ช่วยให้มวลมนุษย์พ้นจากความทุกข์  ได้รับความอบอุ่นใจ  ปลอดจากความกลัว  เกิดความหวังในชีวิต
ศาสนาจัดเป็นบรรทัดฐานของสังคมอย่างหนึ่ง  จากการปฏิบัติตามพิธีกรรมและตามหลักคำสอนของศาสนานั้น ๆ  ซึ่งต่างศาสนาต่างสังคมกันก็ย่อมจะมีแนวทางในความคิดความเชื้อ  และวิธีปฏิบัติต่างกัน
แต่อย่างไรก็ดีศาสนาทุกศาสนาย่อมสอนให้ศาสนิกของตนเป็นคนดีละเว้นจากความชั่วทั้งสิ้น   สอนให้ศาสนิกมีความเมตตาธรรมคำชูโลกซึ่งเป็นหลักทั่วไปของทุกศาสนา  ดังจะกล่าวดังต่อไปนี้
 หลักการทำความดีละเว้นความชั่ว
และหลักความเมตตา  ที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมและเป็นสากล
 ในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู  (Brahmanism - Hinduism) หลักการทำความดีละเว้นความชั่ว 
มีอยู่ในคำสอนคัมภีร์อุปนิษัทกล่าวว่า  อาศัยกรรมดี  กรรมชั่ว เป็นปัจจัยให้มีการเวียนว่ายตายเกิด  ถ้าใครสามารถหาอุบายไม่ทำกรรมได้ก็จะรอดพ้นจากความเกิดกรรม  คือ  กิจกรรมที่ต้องทำอยู่ตามวิสัยของโลกนี้  ถ้าหากผู้ประสงค์จะดำเนินไปสู่ทางรอดพ้นอันแท้จริงต้องสละโลกกีย์ธรรมคือครอบครัว  ทรัพย์สมบัติความบันเทิงสุข  และสิ่งทั้งปวง  อันไม่เที่ยงแท้แน่นอนแล้ว  ออกป่าถือเพศเป็นดาบสหรือนักพรตเข้าสู่ความเป็นผู้ไม่ประกอบกรรม  เพื่อให้วิญญาณเข้าใกล้ชิดกับอกรรมคือพรหมัน
ในคัมภีร์ภควันคีตา  สอนจริยธรรม  คือโยคะหรือทางแห่งการบรรลุ  ความเป็นเอกภาพกับพรหมัน 3 ทาง คือ
               1.      การกระทำกรรมดีด้วยการปฏิบัติหน้าที่ของตนใจแต่ละวรรณะให้ถูกต้องเรียกว่ากรรมโยคะ
               2.      การภัคดี หรือ อุทิศตนหรือการมอบตนด้วยศรัทธาต่อพระผู้เป็นเจ้าเรียกภักติโยคะ
               3.      ความรู้เริ่มต้นด้วยการศึกษาพระเวท  จนสามารถเข้าใจถึงความที่ตนบรรลุความเป็นเอกภาพกับพรหมัน  ที่เรียกว่าชีวันมุกตุ  คือ อัตตาที่หลุดพ้นแล้ว  เรียก ชญาณโยคะ
 ในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู(Brahmanism - Hinduism)หลักความเมตตา  ที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมและเป็นสากล  คือ
คำสอนพื้นฐานทางศีลธรรมสำหรับปฏิบัติต่อกันของมนุษย์ในทางสังคมและหลักเมตตา  ในมนูศาสตร์กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่าอย่าทำให้ผู้อื่นได้รับบาดเจ็บ  ไม่ถึงทำร้ายผู้อื่นทางในหรือทางกาย ไม่พึงเปล่งวาจาที่ก่อคามเจ็บใจแก่เพื่อนมนุษย์ทั้งหลาย  จงอดทนถ้อยคำที่ล่วงเกิน  ไม่พึงด่าตอบใคร ๆ ไม่พึงเป็นศัตรูของ ใคร ๆ เพราะเหตุแห่งร่างกายอันเปื่อยเน่าทรุดโทรมได้  อย่าแสดงอาการโกรธตอบบุคคลที่โกรธ  จงให้พรคนที่สาปแช่งและอย่าเปล่งวาจาที่ไร้สาระ
ในภควคีตา  ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของคัมภีร์มหาภารตะได้กล่าวหลักเมตตาไว้ว่า  การไม่ทำร้าย  การมีสัจจะ การเว้นจากการขโมย  การเว้นจากการกำหนัดยินดี  การเว้นจากความโกรธและความละโมบ การพยายามทำสิ่งที่พอใจและเป็นประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวงนี้เป็นหน้าที่เสมอกันขอบบุคคลในทุกวรรณะและคัมภีร์พระเวท  ได้กล่าวสอนไว้ตอนหนึ่งว่า  ขอให้บุตรเป็นผู้ประพฤติสืบต่อคำปฏิญาณของบิดาให้สมบูรณ์  จงแสดงความเคารพต่อมารดา  ขอให้ภริยาใช้คำอ่อนหวานเป็นที่ปลอบประโลมใจต่อสามี  ขอพี่น้องหญิง  จงอย่าต่อสู้กัน  ดูก่อนมนุษย์ทั้งหลาย  เมื่อรู้จุดประสงค์แห่งชีวิตของเจ้าดีแล้ว ก็ควรพูดแต่ถ้อยคำที่ควรสรรเสริญ  ขอให้สถานที่ที่เจ้าตักน้ำขึ้นมาดื่ม  จงเปิดเป็นสาธารณะแก่คนทั้งปวง  ของการแบ่งอาหารของเจ้าจงเป็นไปโดยยุติธรรม  เราเทียบแอกเจ้าทุกคนด้วยแอกอันเท่าเทียมกัน  จงอ้อนวอนต่อเทพเจ้าของเจ้าร่วมกัน  จงถือว่าตัวเจ้าเป็นเสมือนซี่ล้อที่มีอยู่ในล้อเดียวกัน
 ในศาสนาเชน (Jainism) หลักการทำความดีละเว้นความชั่ว
               ในโมกษะ  คือความหลุดพ้น ได้อธิบายถึงการทำความดีละเว้นความชั่วไว้ว่า การทำความดีที่นำไปสู่กุศล  และให้เกิดสันติมี 9 ประการ คือ  บุณยะ  1.  ให้อาหาร 2.  การให้น้ำ  3.  การให้เครื่องนุ่งห่ม 4. การให้ที่อยู่อาศัย 5. การให้ที่นอน-นั่ง  6.  ความคิดดี-ปราถนาดี 7.  การให้ช่วยเหลือผู้อื่นทั้งทางกายและทางใจ  8.  การพูดดี  9.  การแสดงความเคารพ  เป็นความดีที่จะทำให้ผู้ปฏิบัติถึงความหลุดพ้น  เป็นอิสระจากพันธนาการแห่งกรรมโดยสิ้นเชิง  ผู้บรรลุโมกษะชื่อว่า สิทธา  ตายแล้วไม่ต้องกลับมาเกิดในโลกนี้อีก  จะไปเสวยสุขในชั้นเหนือเทวโลกตลอดกาลนิรันดร
 ในศาสนาเชน (Jainism)หลักความเมตตาที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมและเป็นสากล  คือ
               ก่อนที่จะเข้าสู่นิรวาณะ  สาวกคนหนึ่งถามว่า "ในบรรดาคำสอนของพระชินะทั้งหมดว่าด้วยเรื่องอะไรสำคัญที่สุดในบรรดาคำสั่งสอนทั้งหมด"  มหาวีระตรัสตอบว่า "ต้องไม่ทำร้ายสิ่งมีชีวิตทางร่างกาย  ทางวาจา และทางน้ำใจ  อย่าฆ่าสัตว์ทั้งหลายเพื่ออาหารของตน  อย่าล่าสัตว์  อย่ายิงนกตกปลา  อย่าฆ่าริ้นยุง  แม้ว่ามันจะกันกินเลือดเนื้อ ฯลฯ อย่าออกสงคราม อย่าต่อสู้ศัตรู อย่าย่ำเหยียบพืชผักใด ๆ  เพราะสิ่งทั้งหลายเหล่านั้นมีวิญญาณทั้งสิ้น"  หลักคำสอนสำคัญจึงสรุปลงในข้อที่ว่า  "อหึสา  ปรโม ธรมะ  ความไม่เบียดเบียนเป็นธรรมะอย่างยิ่ง"   นับว่าเป็นหลักที่สอนให้ทุกคนมีหลักความเมตตาอยู่ในหัวใจทุกคน   รู้จักรักสรรพสัตว์มีความเมตตาให้โดยไม่เบียดเบียนสรรพสัตว์เหล่านั้น  ไม่ว่าจะกรณีใด ๆ นับว่าสงเคราะห์เข้าหลักเมตตา คือความรักใคร่ปรารถหนาให้สรรพสัตว์ทั้งปวงเป็นสุข
 ในศาสนาสิกข์ (Sikkhism) หลักการทำความดีละเว้นความชั่ว
               คุรุนานานักศาสดาของสิกข์  กล่าวว่าไม่มีความชั่วใดยิ่งกว่าความโลภ ถ้าเขาหว่านทุกข์ทุกข์ก็จะเป็นผล  ถ้าเขาหว่านยาพิษ  เขาก็ไม่อาจหวังอาหารทิพย์ได้เลย  ในบัญญัติศีลข้อที่ 21 ได้มีบางข้อได้กล่าวถึงการทำความดีละเว้นความชั่วคือ  เว้นจากการมุสาวาท  เว้นจาก กาม,โกรธ, โลภ, และโมหะ นับถือภรรยาท่านเสมอด้วยมารดาเว้นจากการเกี่ยวข้องผู้เป็นปรปักษ์ต่อศาสนา  ต้องถือคติที่ว่า  ตนเกิดมาเพื่อนำความสุขให้แก่ผู้มีทุกข์และทำความเจริญให้แก่ชาติและศาสนาเว้นจากการหรูหราอันไร้สาระการเสพพระผู้เป็นเจ้าอกาล  และการสักการะผู้เป็นแขก  ถือเป็นกรณีกิจประจำวัน   เหล่านี้เป็นหลักในการทำความดีละเว้นความชั่วของศาสนาสิกข์

ในศาสนาสิกข์ (Sikkhism)หลักความเมตตา
คุรุนานานักศาสดาของสิกข์  กล่าวว่าไม่มีอาวุธใดยิ่งกว่าการให้อภัย      ไม่มีบุญใดยิ่งกว่าการกรุณา  ในคัมภีร์ครันถะ  กล่าวว่า  จงลุกขึ้นแต่เช้าตรู่  ทำจำใจของท่านให้เต็มไปด้วยความรักในพระเจ้า  จงให้ทานเสมอ  จงพูดคำสุภาพอ่อนโยน  จงถ่อมตน จงรักผู้อื่น  อย่ากินหรือนอนมากเกินไป  จงใช้จ่ายเฉพาะส่วนที่ท่านหามาได้ด้วยมือของท่านเอง  กลางคืนและกลางวันจงพยายามอยู่กับคนดี  จงร่วมกับคนเหล่านั้น  สวดบทสรรเสริญของคุรุ  ในสมัยแรกสิกข์  มุ่งส่งเสริมให้มีความสามัคคีเสมอภาคนั่วแถวเดียวกันได้โดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างแห่งวรรณะและฐานะ
 ในศาสนาเต๋า (Taoism)         หลักการทำความดีละเว้นความชั่ว
               ในคัมภีร์เต๋าเตกเกง  บทที่ 8 กล่าวว่า  ผู้มีความดียอดเยี่ยมเปรียบได้กับน้ำ  ความดีของบ้านอยู่ที่ดิน  ความดีของใจอยู่ที่ความลึกซึ้ง   ความดีของมิตรภาพอยู่ที่ความรัก  ความดีของคำพูดอยู่ที่ความซื่อสัตย์  ความดีของผู้ปกครองอยู่ที่ความเป็นระเบียบ  ความดีของนักธุรกิจอยู่ที่ความสามารถ  ความดีของการกระทำอยู่ที่เวลา  คนที่ดีที่สุดมีลักษณะเหมือนน้ำ  เพราะน้ำมีการปรับตัวให้เข้ากับสภาะ  สอนให้คนรู้จักปรับตัว  น้ำมีสภาพเย็น  สอนให้คนรู้จักใจเย็นเหมือนน้ำ  น้ำมีสภาพใหลจากที่สูงไปที่ต่ำ  สอนให้คนไม่เย่อหยิ่ง สอนให้คนเรามีความสามัคคี
ในคัมภีร์เต๋าเตกเกง  บทที่ 19 กล่าวเรื่องการทำความดีที่ควรมีในผู้ปกครองว่า   ผู้ปกครองเลิกล้มอบายมุขและผลประโยชน์ในการค้าเสีย  จะไม่มีใครคิดกระทำโจรกรรม  เป็นการรักษาชาติแบบง่าย ๆ  ไม่เห็นแก่ตัวและตัดคามโลภและความเห็นแก่ตัวของตนออกเสีย
 ในศาสนาเต๋า (Taoism)         หลักความเมตตา
ในคัมภีร์เต๋าเตกเกง  บทที่ 19 กล่าวเรื่องเมตตาที่ควรมีในผู้ปกครองว่า  ผู้ปกครองละทิ้งเลห์เหลี่ยมฉ้อฉลเสียก็จะเป็นประโยชน์แกราษฎรร้อยเท่า  เลิกการแสร้งทำเป็นเมตตา  กับการกระทำที่ชอบ(ที่แสร้งทำ) เสียราษฎรก็จะคงคือนิสัยกตัญญูและความกรุณาที่เคยมีอยู่  เป็นการสอนผู้ปกครองให้มีความเมตตาคือความรักใคร่ในราษฎร
 ในศาสนาขงจื้อ(Confucianism) หลักการทำความดีละเว้นความชั่ว
               บุคคลผู้เป็นคนดีตามลักษณะของขงจื้อ คือ คนดีต้องปฏิบัติสิ่งที่เขาสอนได้ก่อนแล้ว  จึงค่อยสอนผู้อื่นในสิ่งที่เขาปฏิบัติ ไม่ใช่ดีแต่สอนเขา  คนดีในทัศนะของขงจื้อ  คือคนที่ชอบสงบเรียบง่าย  ส่วนคนชั่วมีความกังวนทุกข์ทรมานอยู่เสมอ  คนดีเข้าใจความดี  คนชั่วเข้าใจเฉพาะสิ่งจะเป็นประโยชน์ต่อคนชั่วเท่านั้น  คนดียึดคุณธรรม  คนชั่วยึดทรัพย์สมบัติ  คนดีคิดถึงแต่บทลงโทษแต่คนชั่วคิดแต่จะหาผลประโยชน์ส่วนตัว  ดังนั้น  คนดีย่อมเรียกร้องเอาที่ตัวเอง  ส่วนคนชั่วเรียกร้องเอาจากคนอื่น
 ในศาสนาขงจื้อ(Confucianism)           หลักความเมตตา
               ขงจื้อได้สอนเน้นเรื่องการกำเนิดชีวิตไม่หนีสังคม  ต้องแก้ไขสังคมก่อน  ให้ทุกคนปฏิบัติต่อกันด้วยความเมตตาธรรมบนพื้นฐานแห่งความยุติธรรม  โดยเฉพาะอย่างยิ่งขงจื่อมุ่งหมายชำระสังคมให้อยู่บนพื้นฐานแห่งความเมตตาและความยุติธรรม เพื่อให้เกิดสันติสุขของประชาชนในชาติเป็นสำคัญ
               ขงจื้อสอนว่า เศรษฐกิจ  สังคม  การเมือง และศาสนาไม่สามารถจะแยกออกจากกันได้  เพราะมีอุดมคติร่วมกันอยู่ที่ศีลธรรม  ชีวิตที่ปราศจากความรัก  ความเมตตา คุณธรรมไม่อาจจะดำรงอยู่ได้  ดังนั้นหลักจริยธรรมจึงมีความเมตตาเป็นหัวใจสำคัญ  ดังนี้
1.   ความเมตตากรุณา  ความเป็นผู้สำนึกในพระคุณความองอานและความพากเพียร (เหริน)
               1.1ความถูกธรรม ความสุจริตจริงใจ (อี้)
                               1.2 ความเหมาะสมนิติธรรมเนียมประเพณี  (หลี่)
               1.3ปัญญาและการศึกษา  (จื้อ)
               1.4ความเป็นผู้เชื่อถือได้  ความจงรักภักดี            (สีน)


ซึ่งเป็นสิ่งต้องปฏิบัติกันอย่างถูกต้อง  คือต้องยึดหลักเมตตาเป็นเกณฑ์สำคัญ ดังนี้

               1.      ผู้ปกครองแสดงความนับถือผู้อยู่ใต้ปกครอง และผู้ใต้ปกครองมีความจงรักภักดี
               2.      บิดา-มารดา  มีความเมตตา  บุตรมีความกตัญญูกตเวที
               3.      สามีประกอบด้วยคุณธรรม  ภริยาเชื่อฟัง
               4.      พี่ชายวางตัวให้สมกับเป็นพี่  น้องชายเคารพพี่
               5.      เพื่อนวางตัวให้เป็นที่เชื่อถือไว้วางใจกันและกันได้
 ในศาสนาชินโต(Shintoism) หลักการทำความดีละเว้นความชั่ว
               ชินโตไม่ได้กำหนดแน่นอนว่าทำอะไรเป็นความดีหรือความชั่ว  แต่ได้กล่าวว่า  จิตใจอันดีงามมีลักษณะ 4 ประการคือ  1. หัวใจที่แจ่มใส 2 หัวใจที่บริสุทธิ์  3. หัวใจที่ถูกต้อง  และ 4.  หัวใจที่ตรง  ซึ่งอธิบายว่า  หัวใจที่แจ่มใสย่อมฉายแสงที่แจ่มใสเหมือนด้วงอาทิตย์หัวใจที่บริสุทธิ์ย่อมผ่องแผ้วเหมือนเพชรสีขาวบริสุทธิ์  หัวใจที่ถูกต้อง ย่อมแนบแน่นอยู่กับความยุติธรรม  หัวใจที่ตรงย่อมน่ารัก  และปราศจากความยึดมั่นในทางที่ผิด  ทั้ง 4 ประการนี้ย่อมเป็นอันหนึ่งเดียวกับเทพเจ้า  ในคัมภีร์นิฮอนคิได้กล่าวไว้ว่า  ผู้พูดความจริงไม่มีอันตราย  ผู้พูดความเท็จจะต้องประสบความหายนะอย่างแน่นอน  จงเว้นความตะกละตะกลาม  และสละความละโมบโลภมากเสีย  การทำร้ายผู้อื่นเป็นความชั่วความกล้าหาญเป็นการดี  จงเว้นความโกรธเคืองและเว้นจากกริริยาท่าทางที่แสดงความโกรธเคือง อย่าเป็นคนริษยา  ดังนี้ 
 ในศาสนาชินโต(Shintoism)หลักความเมตตา
              

                รัฐของชินโตนั้นมีบัญญัติไว้ดังนี้

                1.      อย่าล่วงละเมิดน้ำพระทัยของเทพเจ้า
                2.  อย่าลืมความผูกพันอันมีต่อบรรพบุรุษ
                3.   อย่าล่วงละเมิดบัญญัติของรัฐ          
                 4.  อย่าลืมความกรุณาอันลึกซึ้งของเทพเจ้า เมื่อเราประสบโชคร้าย  ความร้ายนั้นพระองค์ได้มาช่วยให้หมดไป  เมื่อมีความเจ็บป่วยพระองค์ก็ได้มาช่วยให้เสื่อมคลายไป                                                           5.  อย่าลืมว่าโลกเป็นครอบครัวอันเดียวกัน
                6.   อย่าลืมขอบเขตจำกันของตัวท่านเอง   
                 7.   ถ้าใครมาโกรธอย่าโกรธตอบ
                8.   อย่าเกียจคร้านในกิจการของตน        
                 9.   อย่าเป็นคนติเตียนคำสอน
               10.  อย่าหลงละเมอในคำสั่งสอนของชาวต่างชาติ
               ในบัญญัติของชินโตนี้  นับเป็นหลักของความเมตตากรุณา  ฝึกฝนตนเองให้เกิดความรักใคร่ปรารถนาให้ตนเองมีความเมตตาต่อผู้อื่น  เป็นต้น
 ในศาสนา ยิว - ยูดาย (Judaism)หลักการทำความดีละเว้นความชั่ว
               เนื่องจากคติความเชื่อถือ  "ความหวังผู้มาโปรด"  ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากคำสอนศาสนาไซโรอัสเตอร์  ทำให้ชาวยิวมั่นใจในคติปรโลกเกี่ยวกับดวงวิญญาณที่มาพัวพันอยู่กับเรื่องของมนุษย์และเรื่องของชีวิตทคี่ตายแล้วจะร้องกลับฟื้นคืนชีพมาเกิดใหม่ในภพใหม่อีก  และบาปอันบุคคลหนึ่งทำแล้วย่อมต้องมีผลต่อสังคมต้องรับผลร่วมกัน  เรียกว่า บาปกำเนิด  ดังนั้นศาสดาพยากรณ์จึงมีความสำคัญมากที่จะเป็นผู้คอยกำหนดชะตากรรมของสังาคมต้องมีพระผู้ไถ่บาป  "Messiah"
               การกระทำของมนุษย์จะต้องได้รับคำพิพากษาในวันสุดท้ายแห่งการสิ้นแห่งโลก  ผู้กระทำดีคือเชื่อในพระเจ้าจะมีผู้นำไปสู่สวรรค์อยู่กับพระเจ้า  ผู้กระทำความชั่วคือ ปฏิเสธพระเจ้าจะต้องไต่สะพานลงนรก  ดวงวิญญาณจะวนเวียนอยู่ใกล้ร่าง 3 วัน  แล้วรับคำพิพากษาว่าจะไปทางใด  สวรรค์ที่จะไปมีอยู่ 7 ชั้น เรียกสวรรค์แห่งอุทยานเอเดน(Heaven of Eden)สถานที่อันเต็มไปด้วยความสุข  ส่วนนรกก็มี 7 ชั้น  เหมือนกันแต่เป็นสถานที่อันเป็นที่ทรมารคนปาบชั่วนิรันดร
การทำบาปเป็นสิ่งที่ชำระได้ด้วยการออกนามพระเจ้าโดยวิธีอ้อนวอนขอให้ทรงช่วยความสุข
จะเกิดขึ้นได้แก่การสารภาพบาป  เพราะยิวเชื่อว่าผู้ปฏิเสธความผิด  ผู้นั้นจะได้รับโทษหรือความผิดึง 2 เท่า  ดังนั้น  ยิวจึงถือหลักปฏิบัติว่า  กลัวพระเจ้ารักษาบัญญัติของพระองคืเป็นหน้าที่ของมนุษย์เพราะว่าพระเจ้าเป็นผู้ทรงนำคำพิพากษามาให้แก่มนุษย์ในส่วนดี  และส่วนที่ชั่วคือทั้งทุกข์ทั้งสุข ชีวิตนี้มีเพียงครั้งเดียวคามจงรักภักดีและบูชาในพระยะโฮวา  และการปฏิบัติตามเทวโองการผ่านโมเสส  จุดหมายคือการได้อยู่ร่วมกับพระเจ้าในสวรรค์


                        ในศาสนายิว - ยูดาย (Judaism)หลักความเมตตา
พระยะโฮวาทรงเป็นพระเจ้าของเผ่าเร่ร่อนอาศัยดินฟ้าอากาศและฝนเพื่อการเพาะปลูกยังชีพตามทะเลทรายจึงได้ปรากฏมีบัญญัติ ๑๐ ประการเป็นวิธีดำเนินชีวิตในระยะนั้น ดังนี้
               1.      สูเจ้าจะต้องไม่บูชาพระเจ้าองค์อื่น
               2.      สูเจ้าจะต้องไม่หล่อรูปเปรียบของพระเจ้าทั้งหลาย
               3.      สูเจ้าจะต้องทำพิธีอุทิศให้แก่ผู้ตาม
               4.      สูเจ้าจะต้องไถ่บาปลูกลาตัวแรกซึ่งเกิดแก่สูเจ้าด้วยลูกแกะ 1 ตัว(ไม่ยอมให้ใครเอาลูก
ลาไปใช้งาน)  สูเจ้าจะต้องไถ่ลูกชายคนแรกที่เกิดแก่สูเจ้า(ไม่ให้เป็นทาสใคร)
               5.      สูเจ้าจะต้องไม่ปรากฏต่อหน้าเราเปล่า ๆ  (จะไม่ออกนามพระเจ้าโดยไม่มีความหมาย)
               6.      สูเจ้าจะต้องทำงาน ๖ วัน ต้องพักผ่อนในวันที่ ๗
               7.      สูเจ้าจะต้องทำพิธีในเวลาเก็บผลดินทผาลัม
               8.      สูเจ้าจะต้องไม่ทำพลีกรรมด้วยเลือดพร้อมกับขนมปังที่มีเชื้อเจือปน  และสูเจ้าจะต้องไม่ทำให้เครื่องพลีกรรมต่อผู้ตายเหลื่อไว้จนถึงรุ้งเช้า
               9.      สูเจ้าจะต้องพาเด็กที่เกิดใหม่ในหมู่ของสูเจ้ามาเคารพต่อยะหะเวห์ซึ่งเป็นพระเจ้าของเจ้า
               10.    สูเจ้าจะต้องไม่ต้นนมของแม่ให้เด็ก
บัญญัติ  10 ประการนั้นถือเป็นหลักความเมตตาของเผาเฮบรูที่เรร่อนในระยะแรก


หลัก เมตตาข้อห้ามต่าง ๆ  ของศาสนายิวระยะต่อมา  มีดังนี้
               1.      อย่าได้มีพระเจ้าอื่นต่อหน้าเราเลย
               2.      อย่าทำรูปปั้นสำหรับตน
               3.      อย่าออกพระนามของพระยะโฮวาพระจ้าของเจ้าเปล่า ๆ
               4.      จงระลึกถึงวันซะบาโตถือเป็นวันศักดิ์สิทธิ์
               5.      จงนับคือบิดามารดาของเจ้า
               6.      อย่าฆ่าคน
               7.      อย่าล่วงประเวณีผัวเมียเขา
               8.      อย่าลักทรัพย์
               9.      อย่าเป็นพยานเท็จต่อเพื่อนบ้าน
               10.    อย่าโลภเรือนของเพื่อนบ้าน อย่าโลภ  ภริยาของเพื่อนบ้าน หรือทาสาทาสีของ
       เขา  หรือสิ่งใด ๆ ซึ่งเป็นของเพื่อนบ้าน
บัญญัติ  10 ประการนั้นถือเป็นหลักความเมตตาของเผาเฮบรูที่เรร่อนในระยะหลัง
 ในศาสนาพุทธ(Buddhism) หลักการทำความดีละเว้นความชั่ว
               พระพุทธศาสนา  สอนให้คนเชื่อเรื่องกรรมและการเวียนว่ายตายเกิดหรือสังสารวัฎ  อันเป็นพื้นฐานแห่งศีลธรรม  โดยสอนให้เชื่อมั่นในการกระทำว่าทุก ๆ  การกระทำย่อมมีผลตามมา  ทำดีย่อมได้รับผลดี ทำชั่วย่อมได้รับผลชั่ว  ทำอย่างไรได้รับผลอย่างนั้น ไม่มีใครปฏิเสธผลของกรรมได้  กรรมเป็นเครื่องจำแนกสัตว์ให้ได้รับสุขรับทุกข์  ให้เป็นคนดีคนเลว  หยาบ ประณีต  คนเราได้ดีได้ชั่ว
 เพราะผลแห่งการกรรมหรือการกระทำ  ไม่ใช่เพราะชาติตระกูล  ผู้เกิดในชาติตระกูลใดก็ตามเมื่อทำดีย่อมได้ดี  เมื่อทำชั่วย่อมได้รับชั่ว  ดังนั้นพระพุทธเจ้าจึงตรัสไว้ในอังคุตตรนิกายว่า  หญิงชาย  คฤหัสถ์  บรรพชิต  ควรพิจารณาเนือง ๆ ว่าเรามีกรรมเป็นของตน  เป็นผู้รับผลของกรรม  มีกรรมเป็นกำเนิด  มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์  มีกรรมเป็นที่อาศัย  เราทำกรรมดีไว้  ดีก็ตาม  ชั่วก็ตาม  เราจักได้รับผลกรรมนั้น  เสมอ  พระพุทธเจ้าทรงแสดงหลักธรรมไว้เป็นจำนวนมาก  ดังมีคำกล่าวว่า  ทำดีย่อมได้ดี ทำชั่วย่อมได้ผลชั่ว  การทำความดีใน

พระพุทธศาสนา ระดับขั้นพื้นฐานคือศีล การละเว้น
               1.      งดเว้นจากการฆ่าสัตว์
               2.      งดเว้นจากการลักทรัพย์
               3.      งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม
               4.      งดเว้นจากการพูดเท็จพูดปด
               5.      งดเว้นจากการดื่มสุราเมรัยและยาเสพติดให้โทษ


ในระดับกลางถือว่าการทำความดีในพระพุทธศาสนา  เป็นการละเว้นความชั่ว  คือ
เป็นไปในทางกายสุจริต 3 ประการ คือ
               1.      งดเว้นจากการฆ่าสัตว์
               2.      งดเว้นจากการลักทรัพย์
               3.      งดเว้นจากการประพฤติผิดในกามเป็นไปในทางวจีสุจริต 4 ประการ คือ
               4.      งดเว้นจากการพูดเท็จ
               5.      งดเว้นจากการพูดส่อเสียด
               6.   งดเว้นจากการพูดคำหยาบ
               7.   งดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ
เป็นไปในทางมโนสุจริต 3 ประการ คือ
               8.      ไม่คิดอยากได้ของผู้อื่นมาเป็นของตัว
               9.      ไม่คิดพยาบาทปองร้ายเขา
               10.    มีความเห็นถูกต้องตามสภาวะความเป็นจริง (สัมมาทิฐิ)

ในระดับสูงถือว่าเป็นการทำความดีในพระพุทธศาสนา  การละเว้นความชั่ว  คือ
               1.   สัมมาทิฏฐิ    ความเห็นชอบ
               2.   สัมมาสังกัปปะ   ความดำริชอบ
               3.   สัมมาวาจา     เจรจาชอบ
                               4.      สัมมากัมมันตะ  การงานชอบ
               5.      สัมมาอาชีวะ  เลี้ยงชีพชอบ
               6.      สัมมาวายามะ พยายามชอบ
               7.      สัมมาสติ  ระลึกชอบ
               8.      สัมมาสมาธิ  ตั้งใจชอบ
ทั้งหมดย่อให้เป็น 3 คือ   ศีล  สมาธิ  ปัญญา
 ในศาสนาพุทธ(Buddhism) หลักความเมตตา
              

พระพุทธองค์ทรงตรัสเรื่องความเมตตาไว้เป็นสำคัญดังที่ปรากฏอยู่ใน พรหมวิหารธรรม คือ
               3.      มุทิตา  คือ ความพรอยยินดีเมื่อผู้อืนได้ดี
               4.      อุเบกขา  คือการวางเฉย  หมายถึง การทำใจให้เป็นกลาง
ในศาสนาคริสต์  หลักการทำความดีละเว้นความชั่ว
พระเยซูสอนว่า  การไม่ทำชั่วตอบแทนชั่ว  หรือทำดีตอบแทนดีเท่านั้น  ยังไม่พอ  ทำดีตอบ
แทนชั่ว  และให้รักศัตรู  ดังที่ได้ทรงเปรียบเทียบว่า  อย่าต่อสู้กับคนชั่ว  ถ้าผู้ใดตบแก้มขวาของท่าน  ก็จงหันแก้มซ้ายให้เขาด้วย
ความดีสูงสุด  คือการทำตัวตามแบบพระเยซู  เพราะพระเยซูคือพระเจ้า  ซึ่งสำแดงพระ
องค์ให้ปรากฏแก่มนุษย์  คุณธรรมสูงสุดของพระองค์คือความรัก  ความเมตตากรุณา ความอ่อนโยน  ความถ่อมตน  ความอดทนต่อความทุกข์ทั้งปวง  ความชอบ  โดยกล่าวว่า  จงเป็นผู้ดีโดยรอบ (Perfect)อย่างพระบิดาของท่าน
 ในศาสนาคริสต์  หลักความเมตตา
เมตตาปราณี  รักษาความสามัคคีไม่สร้างความแตกแยก  อดทนต่อการประทุษร้าย  การถูกข่มเหง  จงให้อภัยแก่คนทั้งปวง  รักในทุกสิ่งทุกอย่าง  รักแม้กระทั้งศัตรู   ห้ามฆ่าคนและห้ามแม้แต่การด่าว่ากล่าวถ้อยคำไม่ดี  ห้ามล่วงประเวณี   จงประพฤติตนเป็นคนซื่อตรงอย่าสบถสาบาน   อย่าต่อสู่กับคนชั่ว   การโกรธกันระหว่างพี่น้องมีโทษหนัก     อย่าทำบุญเอาหน้า  อย่าประกอบการกุศลเพื่อหวังความสรรเสริญ
 ในศาสนา อิสลาม(Islam) หลักการทำความดีละเว้นความชั่ว
ไม่นำสิ่งอื่นมาเทียบกับอัลเลาะห์    รู้จักอดกลั้นละเว้นความชั่ว  ห้ามเสพสุราและอบายมุขอื่น ๆ  ห้ามกินเนื้อหมูหรือเนื้อสัตว์ที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ   ถือศีลอด เว้นการกิน การดื่ม การเสพเพื่อให้    การบริจาค  คนรวยมีหน้าที่ป้องกันภัยแก่คนจน    การทำฮัจญ์ ณ นครเมกกะเพื่อเสริมสร้างความรักใคร่สามัคคี   ศรัทธาต่อพระเจ้า
 ในศาสนาอิสลาม(Islam) หลักความเมตตา
               มีในกรุณาและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อผู้อื่น  การบริจากทรัพย์เป็นทาน (ชะก๊าต)  ในอิสลามมีข้อบัญญัติว่าด้วยเรื่องบริจาคอันเป็นส่วนแห่งการประกันสังคมไว้ด้วย  และเรื่องนี้เป็นหลักมูลฐานของอิสลามข้อหนึ่งใน 5 ข้อซึ่งมุสลิมผู้มีฐานะพึงกระทำได้  ต้องทำการบริจาคทรัพย์เป็นทาน  ตามหลักการศาสนาแบ่งเป็น 2 ประเภท  โดยเฉพาะทานในเกณฑ์บังคับ  คือบัญญัติสำหรับผู้มีฐานะดี  โดยต้องปันส่วนแห่งทรัพย์สินอันตนมีอยู่ให้แก่ผู้พึงได้รับ  8 จำพวก 
 หนังสืออ้างอิง
 นรงค์ เส็งประชา, (2541), มนุษย์กับสังคม พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ, พิมพ์ที่ โอ.เอ.เอส พริ้นติ้งเฮ้าส์
รศ.ดร.เดือน คดดี, (2541) ศาสนศาสตร์ พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์</fon



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น