คลังบทความภาษาไทย

วันอาทิตย์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2559

การเฝ้าเดี่ยวคืออะไร

การเฝ้าเดี่ยวคือ?

 

การเฝ้าเดี่ยว หมายถึง เวลาส่วนตัวที่เราอยู่สนทนากับพระเจ้า โดยการอ่านพระคัมภีร์และการอธิษฐาน พระเยซูคริสต์ทรงใช้เวลาเช้าแต่ละวันในการอธิษฐานเฝ้าเดี่ยว "ครั้นเวลาเช้ามืด พระองค์ได้ทรงลุกขึ้น เสด็จออกไปยังที่เปลี่ยวและทรงอธิษฐานที่นั่น"(มาระโก 1:35) เช่นเดียวกัน ที่เราต้องการเวลาแต่ละวันที่จะเข้าเฝ้าพระเจ้าด้วย

ข้อเสนอแนะในการใช้เวลาเฝ้าเดี่ยวอย่างมีคุณค่า
     1.จัดเวลาเฉพาะที่จะถวายแด่พระเจ้าในเวลาเช้า หลังจากตื่นนอนเริ่มต้นจาก 10 นาทีก่อน แล้วจึงค่อยๆเพิ่มขึ้นเป็น 15 นาที 20 นาที หรือมากกว่านั้น
    2.เริ่มต้นด้วยการอธิษฐานกับพระเจ้า ขอบพระคุณพระองค์ที่ทรงอวยพระพรในสิ่งต่างๆ ที่ผ่านมา ขอการทรงนำที่จะเริ่มต้นชีวิตในวันใหม่ อธิษฐานเผื่อผู้อื่น ครอบครัวและตัวเอง
    3.อ่านพระคัมภีร์ ควรเริ่มที่พระธรรมยอห์น อ่านอย่างน้อยวันละ 15 ข้อ ตั้งคำถามกับตัวเองดังนี้ว่า
         3.1.มีความบาปอะไรที่ต้องสารภาพ
         3.2.พระเจ้าทรงสัญญาอะไรที่มีสิทธิ์ขอได้
         3.3.มีตัวอย่างอะไรที่ควรปฏิบัติตาม
         3.4.มีบัญญัติหรือคำสั่งใดที่ต้องเชื่อฟัง
         3.5.มีบาปอะไรที่ต้องหลีกเลี่ยง

    4.มีสมุดจดบันทึกสิ่งที่ได้เรียนรู้ หรือข้อคิดที่ได้ระหว่างเฝ้าเดี่ยว พยายามทำเช่นนี้ทุกวัน

วันเสาร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2559

คำถาม: พระคัมภีร์พูดเกี่ยวกับการถวายสิบลดไว้ว่าอย่างไร?


คำตอบ: 
การถวายสิบลดเป็นเรื่องที่คริสเตียนหลายคนมีปัญหากับมัน ในหลาย ๆ คริสตจักร การถวายสิบลดถูกเน้นมากเกินไป ในทำนองเดียวกัน คริสเตียนหลายคนปฏิเสธไม่ยอมทำตามพระคัมภีร์เกี่ยวกับการถวายให้กับพระเจ้า การถวายสิบลด/การถวาย ควรจะเป็นการกระทำด้วยความชื่นชมยินดี, และเป็นพระพร แต่เป็นที่น่าเสียใจว่ามันเกิดขึ้นเป็นส่วนน้อยในคริสตจักรในปัจจุบัน

การถวายสิบลดเป็นแนวความคิดที่มาจากพระคัมภีร์เดิม การถวายสิบลดเป็นกฎข้อบังคับสำหรับคนอิสราเอลทุกคน คนอิสราเอลจะต้องถวาย 10% ของทุกสิ่งที่เขาหามาได้และเพาะปลูกได้ไว้ที่พลับพลา/พระวิหาร (เลวีนิติ 27:30; กันดารวิถี 18:26; เฉลยธรรมบัญญัติ 14:24; 2 พงศ์ศาวดาร 31:5) บางคนเข้าใจว่าการถวายทศางค์ในพันธสัญญาเดิมเปรียบเสมือนการเสียภาษี เพื่อให้ปุโรหิตและคนเลวีได้มีกินมีใช้ ในพันธสัญญาใหม่ไม่มีที่ไหนสั่งหรือแม้แต่แนะนำให้คริสเตียนยอมรับกฎแห่งการถวายสิบลดอย่างเป็นทางการ ท่านอาจารย์เปาโลบอกว่าผู้เชื่อควรแยกรายรับไว้ส่วนหนึ่งเพื่อสนับสนุนคริสตจักร (1 โครินธ์ 16:1-2).

ไม่มีที่ไหนในพันธสัญญาใหม่ที่บอกจำนวนเปอร์เซ็นต์ของรายได้ที่คริสเตียนจะต้องแยกไว้ แต่บอกว่าให้เป็นไป “ตามที่พระเจ้าได้ทรงให้ท่านจำเริญขึ้น” (1 โครินธ์ 16:2). คริสตจักรยกเอาตัวเลข 10% มาจากทศางค์ในพันธสัญญาเดิมแล้วนำมาประยุกต์ว่าเป็นจำนวน “ขั้นต่ำที่แนะนำ” สำหรับคริสเตียนในการถวาย อย่างไรก็ตามคริสเตียนไม่ควรมีความรู้สึกว่าเป็นหน้าที่ที่จะต้องถวายเสมอ เขาควรถวาย “ตามที่พระเจ้าได้ทรงให้ท่านจำเริญขึ้น” นี่หมายความว่า บางครั้งอาจมากกว่าจำนวนทศางค์ บางครั้งอาจน้อยกว่า ทั้งหมดขึ้นอยู่ก้บความสามารถของเขาและความจำเป็นของคริสตจักร คริสเตียนทุกคนควรอธิษฐานขอสติปัญญาจากพระเจ้าว่าเขาควรถวายหรือไม่และ/หรือ เท่าไหร่ (ยากอบ 1:5) “ทุกคนจงให้ตามที่เขาได้คิดหมายไว้ในใจ มิใช่ให้ด้วยนึกเสียดาย มิใช่ให้ด้วยการฝืนใจ เพราะว่าพระเจ้าทรงรักคนนั้นที่ให้ด้วยใจยินดี” (2 โครินธ์ 9:7).

โนอาห์ คนชอบธรรม ปฐมกาลบทที่ ๖-๙


โนอาห์  คนชอบธรรม
ตัวอย่าง : ถามว่า คุณยายมีบ้านอยู่ริมน้ำ แกมีเรือ มีพาย และมีสินค้าสำหรับไปขายแล้ว แต่ยังขาดอะไรจึงไปไม่ถึงตลาด? คำตอบคือ ขาดใจตาย!
ในพระคัมภีร์เดิมมีชายสองคนที่พระเจ้าทรงชมเชย คนแรกชื่อโยบ อยู่ในแผ่นดินอุส เขาที่ร่ำรวยมหาศาล แต่เป็นคนที่เชื่อฟังคำสั่งของพระเจ้าอยู่เสมอ จึงได้รับการเรียกขานว่า เป็นคนดีพร้อมและเที่ยงธรรม เป็นผู้ที่เกรงกลัวพระเจ้าและหันเสียจากความชั่วร้าย” (โยบ ๑.๑) คนที่สองคือโนอาห์ พระคัมภีร์บอกว่า เป็นคนชอบธรรม ดีพร้อมในสมัยของเขา โนอาห์ดำเนินกับพระเจ้า” (ปฐก. ๖.๙)
นักเขียนคริสเตียนคนหนึ่งอธิบายพระคัมภีร์ตอนนี้ว่า โนอาห์เป็นคนดีในยุคที่เต็มไปด้วยความชั่วร้ายและความรุนแรง ซึ่งเลวทรามถึงขนาดที่พระเจ้าทรงอดทนต่อไปไม่ไหว จึงส่งน้ำมาท่วมเพื่อล้างโลก  มีแต่โนอาห์และครอบครัวเท่านั้นที่รอด มนุษย์นอกตายเกลี้ยง
๑.ความเป็นของโนอาห์
(๑)ชื่อโนอาห์
โนอาห์ในภาษาฮีบรูแปลว่า พักหรือหยุดพัก (rest) คงจะมีความหมายในฝ่ายจิตวิญญาณว่า หยุดพักจากการทำความผิดบาปโนอาห์เป็นเชื้อสายของอาดัมผ่านทางเสท และเป็นลูกของลาเมค ตอนเกิดมาพ่อตั้งชื่อว่าโนอาห์พร้อมกับกล่าวว่า ลูกคนนี้จะชูใจในการงานของเรา กาตรากตรำของมือเรา และจากแผ่นดินซึ่งพระเจ้าทรงสาปแช่งไว้” (ปฐก. ๕.๒๘-๒๙) คำว่า ชูใจ” (naham - comfort) มาจากรากศัพท์เดียวกันกับคำว่า โนอาห์” (Noah)

สำรวจปฐมกาล

มาสำรวจปฐมกาล โดย อ. ธวัช เย็นใจ
พระธรรมปฐมกาล ปฐก. ๑.๑-๒.๓
ในปฐมกาลพระเจ้าทรงสร้างทุกสิ่งในฟ้าสวรรค์และโลก ขณะนั้นโลกยังไม่มีรูปทรงและว่างเปล่าความมืดปกคลุมอยู่เหนือห้วงน้ำ พระวิญญาณของพระเจ้าทรงเคลื่อนไหวอยู่เหนือน้ำนั้นปฐก. ๑.๑-๒ [1]

พระคริสตธรรมคัมภีร์ หนังสือที่ได้รับการดลใจ : ผู้ที่เป็นคริสเตียนมีความเชื่อว่า พระคริสตธรรมคัมภีร์เป็นหนังสือที่ได้รับการดลใจจากพระเจ้า พระคัมภีร์ทุกตอนได้รับการดลใจจากพระเจ้า และเป็นประโยชน์ในการสอน การตักเตือนว่ากล่าว การปรับปรุงแก้ไขคนให้ดี และการอบรมในทางธรรม” (๒ ทธ. ๓.๑๖) คำว่า ดลใจ” (Inspired by God) ในพระคัมภีร์เดิมภาษาฮีบรู “Neschamah” คือ ลมหายใจขององค์ ผู้ทรงมหิทธิฤทธ์”(โยบ ๓๒.๘) ในพระคัมภีร์ใหม่ ธีโอนิวตอส” (Theopneustos) มีความหมายว่า พระเจ้าทรงระบายลมหายใจ” (God-breathed) ดังปรากฏอยู่ในพระธรรม ๒ ทิโมธี ๓.๑๖[2] ความสอดคล้อง : จากการศึกษาอย่างละเอียดทำให้เราพบว่า หนังสือพระคริสตธรรมคัมภีร์จำนวน ๖๖ เล่ม(ประกอบด้วยภาคพันธสัญญาเดิม ๓๙ เล่ม และภาคพันธสัญญาใหม่ ๒๗ เล่ม) มีเนื้อหาสาระที่สอดคล้องต้องกันเป็นเสมือนห่วงโซ่ที่ร้อยเรียงต่อเนื่องอย่างไม่ขาดตอน มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ทั้งนี้เพราะว่าพระวิญญาณบริสุทธิ์เป็นผู้ทรงดลใจให้มนุษย์มีความสามารถในการเขียนและเข้าใจ อัครสาวกเปโตรกล่าวว่า ท่านทั้งหลายต้องเข้าใจข้อนี้ก่อน คือผู้หนึ่งผู้ใดจะตีความหมายคำของผู้เผยพระวจนะในพระคัมภีร์เอาเองไม่ได้ เพราะว่าคำของผู้เผยพระวจนะนั้น ไม่ได้มาจากความคิดในจิตใจของมนุษย์ แต่มนุษย์ได้กล่าวคำซึ่งมาจากพระเจ้า ตามที่พระวิญญาณบริสุทธิ์ได้ทรงดลใจเขา” (๒ ปต. ๑.๒๐-๒๑) ผู้เขียน : นักศาสนศาสตร์ลงความเห็นสอดคล้องกันว่า โมเสสเป็นผู้เขียนพระธรรมปฐมกาล รวมไปถึงพระคัมภีร์ห้าเล่มแรกที่เรียกว่า เบญจบรรณในภาษาเดิมเรียกว่าโทราห์ (Torah) ซึ่งเริ่มตั้งแต่ปฐมกาล อพยพ เลวีนิติ กันดารวิถี และเฉลยธรรมบัญญัติ พระคัมภีร์กล่าวว่า โมเสสจึงจารึกพระวจนะของพระเจ้าไว้ทุกคำ” (อพย. ๒๔.๔) โมเสสได้เขียนจดหมายนี้และมอบให้แก่ปุโรหิตบุตรหลานของเลวี...” ( ฉธบ. ๓๑.๙) 

ปฐมกาลพระคัมภีร์วันละคำ

ปฐมกาล
ปฐมกาล (Genesis) พระคัมภีร์เล่มแรกของคริสเตียน ในภาษาฮีบรู bereshith หมายถึงจุดเริ่มต้น (in the beginning) ซึ่งมาจากพระคัมภีร์ฉบับเสปตูจินท์ (LXX) โมเสสเป็นผู้เขียนด้วยรับการ "ดลใจ" จากพระเจ้า (2 ทธ. 3:16)
หนังสือ 5 เล่มแรกในพระคัมภีร์เรียกว่า "โทราห์" (Torah) หนังสือม้วนที่เขียนบนแผ่นพะไพรัส หรือในภาษาไทย "เบญจบรรณ" ตั้งปฐมกาลจนถึงเฉลยธรรมบัญญัติ เป็นกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการดำเนินชีวิต ที่พระเจ้าทรงประทานให้แก่ประชากรของพระองค์ (คนอิสราเอล) ซึ่งปัจจุบันนี้ก็คือคริสเตียนนั่นเอง

เหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาราว กคศ. 2000-1500 สถานที่เกิดขึ้นคือบริเวณแถบตะวันออกกลางและดินแดนเมโสโปเตเมีย (คืออิหร่านและอิรัคในปัจจุบัน) อิสราเอล จอร์แดน เลบานอนและอียิปต์
พระธรรมปฐมกาลกล่าวถึงสองเรื่องที่สำคัญคือ
1. พระเจ้าทรงเป็นพระผู้สร้าง
สรรพสิ่งทั้งปวง ด้วยฤทธานุภาพและความสัพพัญญูของพระองค์ กล่าวถึงการ
สถาปนาสถาบันครอบครัว ความผิดบาปที่เกิดขึ้นครั้งแรก(และลุกลามไปทั่วโลก)
และภาษาต่างๆของมนุษย์ (บทที่ 1-11)

2. กล่าวถึงการทรงเรียกอับราฮัมออกมาจากเมืองเออร์(เมืองแห่งความผิดบาป) เพื่อให้เป็นต้นตระกูลของชนชาติอิสราเอล และทรงสัญญาว่าจะอวยพระพรให้มีลูกหลาน เป็นชนชาติใหญ่และรับพระพรมากมาย เข้ายึดครองคานาอันดินแดนแห่งน้ำผึ้งและน้ำนม (บทที่ 12-50)
ปฐมกาลจบลงตรงที่โยเซฟมารับบิดาคือยาโคบและย้ายครอบครัวทั้งหมด
เข้าไปอยู่ในประเทศอียิปต์!

บทเรียน : เมื่อเราอ่านปฐมกาลจะพบความจริงว่า พระเจ้าทรงเป็นจุดกำเนิดของสิ่งทั้งปวง เมื่อทรงสร้างแล้วมิได้ปล่อยโลกและมนุษย์ให้เผชิญชะตากรรมตามลำพัง แต่ยังทรงติดตามเอาพระทัยใส่อยู่ตลอดเวลา
พระองค์ทรงให้สิทธิในการเลือกแก่มนุษย์ เมื่อเขาเลือกไม่เชื่อฟังและทำบาป ผลที่ติดตามมาคืิอถูกตัดขาดจากพระเจ้า รับความทุกข์และความตาย แต่พระองค์ยังทรงรักและห่วงใย จึงเริ่มต้นใหม่โดยการเลือกโนอาห์ อับราฮัมและคนอื่นๆ จนในที่สุดพระองค์ทรงส่งพระบุตรองค์เดียวของพระองค์ให้เสด็จลงมาสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขน เพื่อไถ่โทษบาปของมวลมนุษย์

ผู้ที่เชื่อและวางใจในพระเยซูคริสต์ จะไม่พินาศแต่มีชีวิตนิรันดร์ (ยน. 3:16)
ท่านผู้อ่านที่รัก แม้คุณจะหลงทางห่างพระเจ้าไป โปรดรับรู้เถิดว่า พระองค์ยังทรงรักและห่วงใยคุณ หันกลับมาและกลับใจเสียใหม่ คุณจะได้รับสันติสุขและชีวิตอันอมตะนิรันดร.

เหตุผลว่าทำไม คุณจึงสามารถเชื่อถือพระคัมภีร์ได้

เราจะรู้ได้อย่างไรว่า พระคริสตธรรมคัมภีร์เล่มปัจจุบันนั้นเชื่อถือได้?

-พระคัมภีร์ถูกอ้างว่าเป็นการสื่อสารที่เป็นเอกลักษณ์ของพระเจ้า ถึงมวลมนุษยชาติ มีผู้คนทั้งชายและหญิงหลายพันล้านคนทั่วโลก ที่ยอมให้คำแนะนำสั่งสอนต่างๆที่เขียนไว้ในพระคัมภีร์เป็นรากฐาน แห่งชีวิตของพวกเขา มีคนเป็นล้านๆคนที่ยอมตายเพื่อสิ่งนี้ด้วย
คนที่มีสติปัญญาสามารถเชื่อพระคัมภีร์ได้ไหม?
คำตอบคือ ได้ พระคัมภีร์ไม่ใช่หนังสือประเภทนิทาน พระคัมภีร์ไม่ เหมือนกับหนังสือที่เขียนขึ้นเกี่ยวกับเรื่องจิตวิญญาณทั่วไปที่เรา ต้องมีแต่ความเชื่อแบบหลับหูหลับตา มีหลักฐานประเภทต่างๆ หลายชิ้นทีเดียวที่สนับสนุนความถูกต้องทางประวัติศาสตร์ของ พระคัมภีร์และการกล่าวอ้างที่ว่าพระคัมภีร์มีสิทธิอำนาจจากพระเจ้า หลักฐานเหล่านั้นได้แก่
  • ประวัติศาสตร์ยุคโบราณ สนับสนุนความถูกต้องของพระคัมภีร์ว่าเป็นการบันทึกเรื่องราวทาง ประวัติศาสตร์
  • พระกิตติคุณทั้งสี่เล่ม ทำให้การบันทึกเรื่องราวชีวิตของพระเยซูคริสต์มีความน่าเชื่อถือ
  • โบราณคดี ให้การรับรองเรื่องราวในพระคัมภีร์
  • ผู้เชี่ยวชาญด้านงานเขียน ยืนยันว่า หนังสือต่างๆที่ถูกรวมรวมไว้ในพระคัมภีร์เล่มปัจจุบันไม่ได้ถูกเปลี่ยนแปลงในเนื้อหา นับตั้งแต่ที่หนังสือเหล่านั้นถูกเขียนขึ้นครั้งแรก

ประวัติศาสตร์ยุคโบราณเห็นด้วยกันกับพระคัมภีร์หรือไม่?

-ถ้าหากว่าพระคัมภีร์คือข้อความจากพระเจ้าถึงเรา เราก็ควรจะหวัง ได้ว่าเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ที่ถูกบันทึกไว้ในนั้นมีความถูกต้อง ซึ่งในความเป็นจริงมันก็เป็นเช่นนั้น
ตัวอย่างเช่น พระคัมภีร์บอกให้เราทราบว่า พระเยซูชาวนาซาเร็ธ ได้ทรงกระทำการอัศจรรย์หลายอย่าง และถูกตัดสินให้ได้รับโทษ โดยทางการโรม และเป็นขึ้นมาจากความตาย มีนักประวัติศาสตร์ ยุคโบราณหลายคนทีเดียวที่ยืนยันเรื่องราวของพระเยซูและพวก ผู้ติดตามของพระองค์ตามที่ถูกบันทึกไว้ในพระคัมภีร์ การยืนยันของพวกเขามีดังต่อไปนี้:
คอนเนลิอัส ทาซิทัส (ค.ศ.55-120) นักประวัติศาสตร์ในสมัยศตวรรษแรกของอาณาจักรโรมผู้ซึ่งได้รับการยอมรับว่าเป็นนักประวัติศาสตร์ ที่มีความเที่ยงตรงมากที่สุดคนหนึ่งของโลกยุคบราณ1 ข้อเขียนสั้นๆจากทาซิทัสบอกกับเราว่า จักรพรรดิของโรมคือ นีโร “ได้ทำการทรมานที่ทารุณโหดร้ายที่สุดกับกลุ่มคนกลุ่มหนึ่ง...ซึ่งเรียกว่าพวกคริสเตียน...คริตุส(คริสต์) ซึ่งชื่อของพวกคริสเตียนมาจากชื่อของคนๆนี้นั่นเอง ต้องทนทุกข์จากการลงโทษอย่างแสนสาหัส ในระหว่างการครอบครองของไทบีเรียส ในมือของผู้แทนด้านการเงินคนหนึ่งของเราคือ ปอนทัส ปีลาต...”2
ฟลาวิอัส โจซีฟัส นักประวัติศาสตร์ชาวยิว (ค.ศ.38-100+) เขียนเกี่ยวกับเรื่องราวของพระเยซูใน Jewish Antiquities (เรื่องราวชาวยิวสมัยโบราณ) จากงานเขียนของโจซีฟัสบอกไว้ดังนี้ว่า “เราได้เรียนรู้ว่า พระเยซูเป็นปราชญ์ผู้ซึ่งทำกิจต่างๆหลายประการที่น่าประหลาดใจ ทรงสั่งสอนคนมากมาย นำคนทั้งยิวและกรีกให้มาติดตามพระองค์ ทรงถูกเรียกว่าเป็นองค์เมสสิยาห์ (ผู้รับการเจิมไว้ของพระเจ้า-ผู้แปล) ถูกกล่าวหาโดยพวกผู้นำทางศาสนาชาวยิว และได้รับการตัดสินให้ถูกตรึงที่กางเขนโดยปีลาต และผู้คนถือว่าทรงเป็นขึ้นมาจากความตาย”3
ซูทอนนิอัส หรือพลินี่ผู้หนุ่มแน่น และธอลลัส ก็ได้เขียนเกี่ยวกับการนมัสการของคริสเตียนและการข่มเหงที่เกิดขึ้นกับพวกเขา ซึ่งก็สอดคล้องกับสิ่งที่ได้รับการบันทึกไว้ในพระคัมภีร์
แม้แต่ในทัลมุด ซึ่งเป็นคัมภีร์ของชาวยิว เรารู้ได้ว่า ไม่ได้มีความโอนเอียงเข้าข้างพระเยซูแน่ๆ ก็เห็นพ้องในเรื่องเกี่ยวกับเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในชีวิตของพระเยซู จากคัมภีร์ทัลมุด กล่าวไว้อย่างนี้ว่า “เราได้เรียนรู้ว่า พระเยซูนั้นเกิดนอกสมรส ได้รวบรวมพวกสาวก ได้กล่าวข้ออ้างเกี่ยวกับตัวของเขาเองที่หมิ่นประมาทพระเจ้าหลายประการ และกระทำการอัศจรรย์ แต่การอัศจรรย์เหล่านั้นเป็นลักษณะการกระทำของพวกพ่อมดหมอผีมากกว่าที่จะเป็นมาจากพระเจ้า”4
ข้อมูลเหล่านี้น่าสนใจยิ่งทีเดียวเมื่อพิจารณาถึงว่า นักประวัติศาสตร์ยุคโบราณส่วนใหญ่จะพูดถึงผู้ที่มีอิทธิพลทางการเมืองและทางการทหารเท่านั้น ไม่น่าจะมาให้ความสนใจในรับบี(อาจารย์ทางศาสนายิว-ผู้แปล)คนหนึ่งที่มาจากเมืองไกลเมืองหนึ่งของอาณาจักรโรมัน เช่นพระเยซูนี้ได้ นักประวัติศาสตร์ยุคโบราณ (ยิว กรีกและโรม) ล้วนแล้วแต่ ยืนยันถึงเหตุการณ์สำคัญๆซึ่งถูกบันทึกเอาไว้ในพระคัมภีร์ใหม่ทั้งสิ้น แม้ว่าพวกเขาเหล่านั้นไม่ใช่ผู้เชื่อในพระเยซูเลยก็ตาม

พระกิตติคุณเรื่องราวของพระเยซูนั้น เชื่อถือได้หรือไม่?

-นักประวัติศาสตร์ทั่วไป บันทึกข้อเท็จจริงทั่วๆไปของเรื่องราวชีวิตพระเยซู เท่านั้น แต่พวกที่อยู่ใกล้ชิดกับพระเยซูเขียนรายงานเรื่องราวที่มีรายละเอียด มากกว่านั้น ซึ่งก็ได้จากพยานผู้รู้เห็นเหตุการณ์จริงแต่ละเหตุการณ์นั่นเอง การบันทึกเหล่านี้ เราเรียกว่า พระกิตติคุณทั้งสี่ ซึ่งเป็นหนังสือสี่เล่มแรกของพระคัมภีร์ใหม่ เราจะมั่นใจได้อย่างไรว่า หนังสือชีวประวัติของพระเยซูทั้งสี่เล่มนี้มีความถูกต้อง?
เมื่อนักประวัติศาสตร์ต้องการที่จะตัดสินว่าชีวประวัติอันใดมีความถูกต้องหรือไม่ พวกเขาถามคำถามนี้ว่า “มีการรายงานเรื่องราวรายละเอียดอย่างเดียวกัน เกี่ยวกับบุคคลผู้นี้ จากกี่แหล่ง?” เราจะอธิบายให้คุณทราบว่าการตัดสินเช่นนี้มีความถูกต้องอย่างไร ลองจินตนาการดูว่าคุณกำลังรวบรวมชีวประวัติของประธานาธิบดี จอห์น เอฟ เคเนดี้ อยู่ คุณพบแหล่งข้อมูลหลายแหล่งที่บรรยายเกี่ยวกับครอบครัวของท่าน การทำงานในฐานะประธานาธิบดีของท่าน และเมื่อครั้งที่ท่านจัดการเรื่องของวิกฤตจรวดมิสไซล์ของคิวบา และข้อเท็จจริงอื่นๆที่ ถูกรายงานก็ค่อนข้างจะใกล้เคียงกันจากแหล่งข้อมูลเหล่านั้น แต่ถ้าเราเกิดพบชีวประวัติชิ้นหนึ่งของท่านเจเอฟเค ที่กล่าวว่า ท่านได้ทำงานเป็นบาทหลวงอยู่ที่อาฟริกาใต้ถึงสิบปีมาก่อน ในขณะที่ชีวประวัติจากแหล่งอื่นๆกล่าวว่า ท่านอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกาในช่วงเวลานั้น คุณจะคิดอย่างไรกับงานเขียนชิ้นนี้? นักประวัติศาสตร์ที่มีเหตุผลก็จะต้องยอมรับเรื่องราวจากหลายแหล่งที่รายงานเนื้อความไปในทิศทางเดียวกันอยู่แล้ว
เมื่อมาถึง เรื่องราวของพระเยซูชาวนาซาเร็ธ เราพบการเขียนชีวประวัติของพระองค์จากแหล่งที่มา ที่มีมากกว่าหนึ่งแหล่งหรือไม่? ใช่แล้ว แม้ว่าพระกิตติคุณทั้งสี่เล่มไม่จำเป็นต้องครอบคลุมข้อมูลที่เหมือนกันทั้งหมดก็ตาม แต่พระกิตติคุณทั้งสี่ ได้เขียนเรื่องราวเดียวกันอย่างแน่นอน ลองมาดูการเปรียบเทียบข้างล่างนี้: